วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มดิฉัน หน่วย ไก่ สอนเรียงตามวัน ดังนี้
  • วันจันทร์ เรื่อง ชนิด
  • วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
  • วันพุธ เรื่อง การดูแล หรือการดำรงชีวิต
  • วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวัง
  • วันศุกร์ เรื่อง การประกอบอาหาร
กลุ่มที่ 1 หน่วย กล้วย (ชนิด)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง กล้วยหวานๆนั้นมีหลากหลาย ใครรู้บ้างหนาว่ามีกล้วยอะไร และครูทบทวนในเนื้อเพลง ถามตอบกับเด็กว่า "เด็กจำได้ไหมค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง" จากนั้นครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดออกมาให้เด็กสังเกตและทายว่ากล้วยในรูป คือกล้วยอะไร
     (คำแนะนำจากอาจารย์)
     - ควรนำกล้วยที่เป็นของจริงแต่ละชนิดมาให้เด็กดู หรืออาจให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยแจงกับผู้ปกครองล่วงหน้าว่าจะเรียนเรื่องกล้วย แล้วให้เด็กนำกล้วยมา
     - เรื่องของสื่อ ไม่ควรใช้มือปิดคำ ควรทำให้มีที่ปิดคำสวยงาม


กลุ่มที่ 2 หน่วย ไก่ (ลักษณะ)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูนำภาพส่วนประกอบของไก่ให้เด็กๆดู เสร็จแล้วครูนำภาพไก่ต๊อก ไก่แจ้ให้เด็กสังเกตลักษณะส่วนต่างๆ เช่น สี ขนาด ส่วนประกอบของไก่แต่ละชนิด และใช้คำถาม ถามตอบกับเด็ก พร้อมทั้งให้เด็กๆออกมาหยิบแผ่นส่วนต่างๆของไก่ทั้งสองชนิด ใส่ลงไปให้ถูกช่องของไก่นั้นๆ จากนั้นครูใช้แผนภูมิ(วงกลมซ้อนกัน) ถามเด็กว่า "เด็กๆคิดว่าไก่ต๊อกมีอะไร ไก่แจ้ไม่มีอะไร" และความเหมือนความต่าง พร้อมเขียนบันทึก
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     การสอนส่วนประกอบไม่ควรเขียนมาก่อน ควรเติมคำพร้อมๆกับการสอน เพราะจะทำให้เด็กได้รู้จักคิด ค้นหาคำตอบ หรือใช้ภาพตัดต่อ มีเทคนิค เช่น "เด็กๆหลับตาลงสิค่ะ" ครูแจกภาพตัดต่อให้เด็ก และเด็กนำมาต่อกัน และเรื่องแผนภูมิควรถามเรื่องความเหมือนความต่างก่อนที่จะถามเด็กว่าไก่แต่ละตัวมีอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้าง


กลุ่มที่ 3 หน่วย กบ (การดำรงชีวิต)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูให้เด็กๆดู VDO เกี่ยวกับวงจรชีวิตของกบ

     หลังจากนั้นครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO อีกครั้ง แล้วนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆดู และสอนเรื่องการดำรงชีวิตของกบ
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     ครูควรพูดเสียงดังฟังชัด และสื่ออาจจะทำใหญ่ๆ ให้เด็กมองทั่วถึง

กลุ่มที่ 4 หน่วย ปลา (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)
     (การนำเสนอ)
     ครูเล่านิทาน ฝูงปลากับชาวประมง ให้เด็กๆฟัง หลังจากนั้นครูใช้คำถาม "เด็กๆคิดว่าปลามีประโยชน์อย่างไร ข้อพึงระวังอย่างไร" ฯลฯ และครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     นิทาน บางประโยคอาจมีการเล่าที่แตกต่าง ไม่เล่าแต่คำซ้ำๆกัน

กลุ่มที่ 5 หน่วย ข้าว (การประกอบอาหาร)

     (การนำเสนอ)
     ครูให้เด็กออกมามีส่วนร่วมในการหั่นปูอัด แครอท ฯลฯ และออกมาเทวัตถุดิบลงไปในกะทะ พร้อมกับให้เด็กๆลองพลิกข้าว จนได้เป็นรูปวงกลม(ทาโกยากิ) เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กๆชิมรสชาติที่ตนเองทำ
     (คะแนะนำของอาจารย์)
     ควรเตรียมวัตถุดิบต่างๆมาให้พร้อม หั่นปูอัด หั่นแครอทไว้แล้ว ใส่ถ้วยเรียบร้อย แต่เหลือส่วนที่เป็นชิ้นตัวอย่าง เมื่อเวลาให้เด็กสังเกต เพื่ออธิบายได้ว่าอันนี้คือ แครอทนะมาจากสิ่งนี้ และซอสก็ควรเทใส่ถ้วย ไม่ควรให้เด็กจับขวดเท และให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการหยิบวัตถุดิบต่างๆลงไป ทั้งหมดเพื่อให้เด็กรู้จักสังเกต คาดคะเนว่าเราควรใส่ลงไปเท่าไหร่ดี

กลุ่มที่ 6 หน่วย ต้นไม้ (ชนิด)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และใช้คำถามปลายเปิด เช่น "ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรบ้าง" จากนั้นครูนำภาพต้นไม่้ให้เด็กดู พร้อมทั้งให้เด็กออกไปนับจำนวนต้นไม้ในรูปและติดเลขฮินดูอารบิก

กลุ่มที่ 7 หน่วย นม (ลักษณะ)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ หลังจากนั้นครูให้เด็กดูสีของนม และพาเด็กๆทดลองสีเต้นระบำ โดยการเทนมลงไปในจานและหยดสีน้ำตามลงไป และตามด้วยน้ำยาล้างจาน สังเกตได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไป สีที่อยู่ในจานเคลื่อนไหวไปมา

กลุ่มที่ 8 หน่วย น้ำ (การดูแล)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง อย่าทิ้ง จากนั้นครูเล่านิทาน อย่าทิ้งขยะ ซึ่งนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ไม่ให้เด็กๆทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อที่น้ำจะได้ไม่เน่าเสีย ครูควรใช้คำถามปลายเปิด เช่น "เด็กๆจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้แม่น้ำเน่าเสีย"เมื่อเล่านิทานจบครูให้เด็กๆตกแต่งป้าย "ห้ามทิ้งขยะ"

กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)
    (การนำเสนอ) 
     ขั้นนำ เพลง , นิทาน หรือใช้ภาพการปลูกต้นมะพร้าว ครูใช้คำถามปลายเปิด "เด็กๆคิดว่าต้นมะพร้าวปลูกที่ไหนได้" และครูนำภาพการเพาะปลูกต้นมะพร้าวมาให้เด็กๆดูพร้อมอธิบายขั้นตอนไปด้วย

กลุ่มที่ 10 หน่วย ผลไม้ (การประกอบอาหาร)
     (การนำเสนอ)
     ครูหยิบเครื่องปรุงต่างๆที่อยู่ในถ้วย ให้เด็กๆสังเกต และใช้คำถามกับเด็กว่า "รู้ไหมค่ะว่าคืออะไร" พร้อมทั้งอธิบายผลไม้ต่างๆ จากนั้นครูให้เด็กๆออกมามีส่วนร่วม โดยให้เด็กหยิบผลไม้ใส่ลงไปในกะทะ หลังจากเสร็จเรียบร้อย ครูให้เด็กทุกคนชิมรสชาติของ ผลไม้ผัดเนย


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเทคนิคการสอนต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในวิชาอื่นๆได้หรือดัดแปลงจากที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในแบบการสอนของตนเองหรืออาจเพิ่มเติมสิ่งแปลกใหม่ และอย่างการจัดการสอน เรื่อง การประกอบอาหาร ครูควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการทำและเวลาทดลองครูควรให้ความสำคัญ สนใจกับคำถามของเด็กๆเสมอ พร้อมกับคอยถามตอบกับเด็กอยู่ตลอดเวลา
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มีการแนะนำเทคนิคการสอนในแบบต่างๆ ที่หลากหลายออกไป
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอแผนการสอน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการแนะเทคนิคการสอนแบบต่างๆให้ทุกกลุ่ม นำไปปรับใช้

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น