วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     อาจารย์ให้ความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
เด็กปฐมวัย นิยามความหมาย เด็กแรก-5 ปี 11 เดือน 29 วัน
1.พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างความคิดด้านร่างกาย, ด้านสติปัญญา, ด้านอารมณ์, ด้านสังคม
2.การเรียนรู้การเล่นของเด็ก
3.การอบรมเลี้ยงดู
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการ คือ สิ่งที่เด็กสามารถทำได้

ขั้นพัฒนาการ

     ขั้นที่ 1 การรับรู้ ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี โดยใช้ประสาทสัมผัสที่ 5 ซึมซับไปยังสมอง พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ

     ขั้นที่ 2 ก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

     1.ขั้นก่อนเกิดสังกัป เด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้นสามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันแต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนักนอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกันจะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

     2.ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)เด็กอายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนักสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อนรู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆไปมาสรุปแก้ปัญหาโดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

วิธีการเรียนรู้

     เด็กลงมือกระทำกับวัตถุหรือกิจกรรมนั้นๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์, ภาษา มาใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์

  • ความพยายามเช่นนี้ติดตัวเด็กมาตั้งแต่แรกเกิดซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
  • การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
  • ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม 
  • ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ 
  • ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะ และแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ทบทวนบทบาท
  • เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม 
  • ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ 
  • จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม 
  • ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้ 
  • ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
Mind Map

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นเทคนิค แนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัยพัฒนาการของเขา
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย แต่บางครั้งก็คุยบ้าง
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ดี
                                   คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...                    

สรุปบทความ

ชื่อบทความ : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Click (ฉบับเต็ม)
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
     วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆรอบๆตัวเรา ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่น ทีวี วิทยุเป็นต้น เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ

     กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กรู้โลกรอบตัวด้วยความเข้าใจคือการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองและได้เป็นผู้จัดระบบอุปกรณ์ สำรวจ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลและแสวงหาคำตอบจากกิจกรรมทางกายและทางสมอง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้นซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา เด็กรับรู้และพยายามทำงานอย่างมีส่วนร่วมเรียนรู้ภาษาจากการทำกิจกรรมเพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวของเด็กเอง ช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้อยากแสวงหาความรู้ต่อไป ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่อคำว่า ทำไม ทำอย่างไร อะไรบ้าง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าของเด็กในการสร้างองค์ความรู้ทำให้เกิดเจตคติที่ดี การแสวงหาความรู้ในห้องเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ศึกษาได้บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปกับการแสวงหาความรู้ ผู้เรียนทุกระดับและทุกจุดมุ่งหมายทางวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ค้นหาคำตอบ ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการค้นหาความรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเป็นระบบจนเกิดความเข้าใจประกอบด้วย ความสามารถ 5 ด้าน ดังนี้ การตั้งคำถาม การสืบค้น การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูลสร้างความเข้าใจและการเผยแพร่ความรู้ที่ค้นพบ

                            

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้เป็นคาบเรียนแรกของวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ได้อธิบายชี้แจ้งแนวปฏิบัติตามแนวการสอนของวิชานี้ ตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนบันทึกอนุทินโดยเลือกระหว่างทำ Blogger หรือ แฟ้ม และอธิบายประโยชน์การทำอนุทินจากบล็อกจากนั้นอาจารย์บอกแนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียนใส่ลงในบล็อกที่สร้างไว้ทุกครั้งที่เรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราสามารถนำไปทำกับวิชาอื่นได้ การทำ บล็อกยังเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้ด้วย และเราสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ 
     ข้อดีของการทำบล็อก คือ เราไม่ต้องเสียเวลา ซึ่งข้อมูล หรือ วิจัย, บทความ ฯลฯ เราสามารถนำลิงก์มาวางใส่ลงในบล็อกได้เลย สะดวกต่อคนที่ต้องการเข้ามาดู หาความรู้ หรือแม้แต่เจ้าของบล็อก ไม่ว่าเราจะต้องการแก้ไข ลบอะไรก็ทำได้สะดวก ส่วนความเรียบร้อย คือเราสามารถกำหนดหัวข้อว่าอะไรจะอยู่หัวข้อไหน ทำให้สะดวกต่อการหาและดูเป็นระเบียบมากขึ้น ที่สำคัญบล็อกไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี เราสามารถกลับมาดูสิ่งที่เรียนได้ตลอดเวลา
      ข้อจำกัดของการทำแฟ้ม คือ เสียเวลาในการทำที่นานกว่า ซึ่งข้อมูล หรือ วิจัย, บทความ ฯลฯ ต้องเขียนหรือปริ้นใส่กระดาษได้เท่านั้น ถ้าเกิดความผิดพลาดต้องแก้ไข ทางเดียวคือปริ้นใหม่หมด ซึ่งทำให้เสียเวลา และยังเปลืองทรัพยากร(กระดาษ)มากอีกด้วย ที่สำคัญทำแฟ้มเมื่อไม่รักษาทิ้งขว้างงานอาจหายได้ผ่านไปเวลานานแฟ้มชำรุด และเก็บเอกสารไม่ได้นาน

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ดี


คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...