วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่เหลือ 1 คน ที่ยังไม่นำเสนอออกนำเสนอวิจัย ดังนี้
ชื่อวิจัย การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
Mind Map

     เมื่อเพื่อนนำเสนอวิจัยเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน (ที่เขียนแผนการจัดประสบการณ์) จากนั้นอาจารย์อธิบายวิธีทำและการเขียนแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

วิธีทำ (How to make)
ส่วนด้านนอก
     ดูจากหมายเลขตรงดาวนะค่ะ
     -ภาพที่ 1 หน้าปก ประกอบด้วย ตราโรงเรียน , ชื่อโรงเรียน , ชื่อเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์(ตั้งชื่อให้น่าสนใจ) , ชื่อหน่วยที่สอน , ชื่อของเด็ก และชื่อคุณครู
     -ภาพที่ 2 ชื่อสมาชิกกลุ่ม
     -ภาพที่ 3 เป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถใช้เล่นกับลูกได้ เช่น เกมภาพตัดต่อ , เกมภาพเงา , เกมจิ๊กซอว์ , เกมต่อคำ , เกมจับคู่ , เกมสลับที่ เป็นต้น
ส่วนด้านใน
     -ภาพที่ 4 หน้านี้เป็นเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ครูสอน เรื่องอะไร หน่วยอะไร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้อะไร
     -ภาพที่ 5 สาระทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่เรียนได้สาระความรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร เขียนแบบเรียงความ
     -ภาพที่ 6 หน้านี้เกี่ยวกับ เพลง คำคล้องจอง หรือนิทานที่เกี่ยวกับหน่วยที่สอน

     การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์นี้เพื่อให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับการเรียนการสอนของเด็กว่าเขากำลังเรียนอะไร และเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการเรียนการสอนของเด็ก ซึ่งครูอาจขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองให้เด็กนำสิ่งของ.........มาเพื่อลงมือปฏิบัติในหน่วยการเรียนการสอนนั้นๆ


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ หรือเราสามารถดัดแปลงสื่อ อุปกรณ์ให้มีความหลากหลายรูปแบบที่แปลกใหม่ไปจากเดิม คือต่อยอด สร้างสรรค์ มากกว่าที่เพื่อนนำเสนอ และวิธีการทำแผ่นพับสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานในรูปแบบอื่นๆได้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม โดยการนำเรื่องหน่วยที่เขียน มาทำแผ่นพับต่อยอดความรู้ และให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนนำมาเสนอ และจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ปรึกษา แสดงความคิดเห็น ช่วยกันออกแบบทำแผ่นพับร่วมกับเพื่อน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตอบเวลาที่อาจารย์ถาม ช่วยกันคิดหาวิธีการทำแผ่นพับอย่างตั้งใจ หาความรู้เพิ่มเติมในการทำ และร่วมมือทำแผ่นพับจนเสร็จลุล่วง
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอ และอธิบายวิธีการทำแผ่นพับอย่างละเอียด มีการแนะนำนักศึกษาดีมาก ว่าตรงนี้ควรเขียนเกี่ยวกับอะไร ช่วยเสนอออกความคิดเห็น

                              คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครูให้ครบทุกคน
1.การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Construction of activity packages to develop science process skills for preschool children)
2.ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
(Effects of outdoor experience in sciented observation skills of young children)
3.การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Reasoning thinking of preschoolchildren though scientific basic skills)
4.ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย (Effect of experimental activities on scientific skills in observantion and classification of preschool children)

สรุปเป็น Mind Map ดังนี้

สรุป โทรทัศน์ครู
Thai Teachers TV

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ หรือเราสามารถดัดแปลงสื่อ อุปกรณ์ให้มีความหลากหลายรูปแบบที่แปลกใหม่ไปจากเดิม คือต่อยอด สร้างสรรค์ มากกว่าที่เพื่อนนำเสนอ และการแนะนำตัววิธีการพูดสามารถนำทักษะการพูดไปใช้ในรายวิชาอื่นๆได้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากโทรทัศน์ครู และการให้คำแนะนำเสริมเพิ่มเติมในแต่ละกิจกรรมในผลงานวิจัยนั้นๆ และสอนวิธีการพูดนำเสนอการกล่าวแนะนำตัวที่ถูกต้องน่าฟัง
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนนำมาเสนอ และจดบันทึกข้อมูลต่างๆ
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตอบเวลาที่อาจารย์ถาม และเพื่อนๆที่นำเสนอมีกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่น่าสนใจมากมาย
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา เวลาที่เพื่อนนำเสนอวิจัย หรือโทรทัศน์ครู ทั้งกิจกรรมต่างๆ อาจารย์ให้ความสำคัญและเก็บรายละเอียดแล้วทบทวนกับนักศึกษาว่ากิจกรรมนี้ทำอย่างไร เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ตรงไหน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ

                              คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     อาจารย์ให้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมาวางตามมุมต่างๆ สรุปเป็น Mind Map ดังนี้

     จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัย 4 คน สรุปเป็น Mind Map ดังนี้
ชื่อวิจัย
1.การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้(Developing of basic science process skills of young children using creative art activity model for learning)
2.ผลของการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย(The effect of writing journal of science activities on spatial ability of preschool children)
3.ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
4.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน(Science process skills of preschool children have been the experience of the activities focus on science process skills and play by the science methodically)

     เมื่อนำเสนอวิจัยเสร็จอาจารย์มีกิจกรรม ประกอบอาหารวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำวาฟเฟิล(Waffle)
อุปกรณ์ (Equipment)
  1. แก้วพลาสติก (Plastic cup) ไว้ใส่น้ำ
  2. ชามพลาสติก (Plastic bowl) ขนาดเล็กและใหญ่
  3. จานพลาสติก (Plastic plate)
  4. ช้อน (Spoon)
  5. เนย (Butter)
  6. ไข่ไก่ (Egg)
  7. แป้งวาฟเฟิล (Waffle)
  8. แปรงทาเนย
  9. เครื่องทำวาฟเฟิล
วิธีทำ (How to Make)

  1. เทแป้งวาฟเฟิลใส่ชามพลาสติกใบใหญ่
  2. ตอกไข่ใส่ลงตามไป
  3. ค่อยๆเทน้ำไปทีละนิดๆ และคนให้เข้ากัน
  4. จากนั้นใส่เนยลงไป และคนให้ทุกอย่างเข้ากันอีกครั้ง
  5. เมื่อลงตัวแล้วใช้ช้อนตักใส่ถ้วยพลาสติกเล็กๆ นำไปเทลงในเครื่องทำวาฟเฟิล

Waffle
การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเทคการสอนการทำวาฟเฟิลในวันนี้ไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการเรียนการสอนของวันที่ 5 ได้ ประยุกต์ปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างออกไป
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มีการแนะนำเทคนิคการสอนในแบบต่างๆ ที่หลากหลายออกไป และการให้เด็กรู้จักค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติทำอาหารได้ทดลองเอง และแก้ไขปัญหาเอง เช่น ถ้าแป้งมันข้นไปทำอย่างไรดี ก็ควรใส่น้ำเพิ่มแต่ไม่เยอะเกินไปอาจทำให้เหลว หรือตอนเทแป้งลงในเตาควรเทแบบไหนแป้งถึงจะไปทั่ว
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ และจดบันทึกข้อมูล และสนุกสนานในการทำวาฟเฟิลได้ลงมือปฏิบัติ
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตอบเวลาที่อาจารย์ถาม และมีความสามัคคีช่วยกันคิดว่าใส่อะไรไปเท่าไหร่ดีนะ วาฟเฟิลถึงจะออกมาอร่อย
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการบอกการสอนกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมประกอบอาหารให้นักศึกษาได้ทดลอง ได้ลงมือทำอย่างสนุกสนาน มีการแนะนำที่ดี เช่น เพื่อนกลุ่มที่แล้วเขาใส่น้ำเยอะเกินไปเวลาเทแป้งลงเตาทำให้ล้น หรือเวลาเทควรเทตรงกลางเพราะแป้งจะค่อยๆไหลกระจายออกไปเองไม่ต้องเทวนไปมา วาฟเฟิลจึงจะออกมาดูสวยงามน่าทาน

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัย 7 คน สรุปเป็น Mind Map ดังนี้

1.การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำการจัดกิจกรรมของวิจัยนั้นๆไปเป็นแนวทางในการสอน หรือประยุกต์ใช้อาจดัดแปลงให้กิจกรรมมีความแปลกใหม่ไปจากเดิม
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มีการแนะนำเทคนิคการสอนในแบบต่างๆ ที่หลากหลายออกไป
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ และจดบันทึกข้อมูล
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตอบเวลาที่อาจารย์ถาม
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการบอกการสอนกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการวิทยาศาสตร์ ดีมากที่ให้นักศึกกลับไปค้นคว้าว่าวิจัยนั้นๆมีการจัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป วิจัย

สรุปวิจัย
ชื่องานวิจัย
     - ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (Critical Thinking Ability of Early Childhood Children Enhancing Out Door Science Process Actvities) Cick


ตารางการดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 กิจกรรม

สรุป โทรทัศน์ครู

     คุณกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า การปลูกฝังให้เด็กหรือเยาวชนสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ควรทำตั้งแต่ยังเด็ก เพราะว่าเด็กปฐมวัย วัยประมาณ 3-5 ขวบ เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้ ถ้าเด็กเขาฝังใจอะไรแล้ว ฝังใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่สนุก เขาจะมีความประทับใจที่ดีต่อเนื่องไปถึงอนาคต และคุณกรรณิการ์ เฉิน ยังนำเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ที่เด็กเข้าใจง่ายมาแนะนำให้กับคุณครู
การทดลอง
กิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของน้ำตาล
     หยิบน้ำตาล 1 ก้อน แล้วนำไปวางไว้ที่กระดาษทิชชู่ของตนเอง ทีนี้ใช้หลอดหยด ดูดสีผสมอาหารขึ้นมา หยดไปที่น้ำตาลก้อน 1 หยด คุณกรรณิการ์ เฉิน ก็จะใช้เทคนิค การใช้คำถามให้คุณครูสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับก้อนน้ำตาลบ้าง ซึ่งแนะเทคนิคนี้ให้กับคุณครูนำไปใช้กับเด็กในระหว่างการทดลองมีการพูดคุยกัน สามารถตั้งคำถาม ก็เป็นการฝึกเด็กคิดวิเคราะห์โดยการสังเกต นำมาเปรียบเทียบ จะเป็นการให้เขาได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ รวมทั้งฝึกการสื่อสารที่จะเล่าว่าเขาได้เห็นปรากฎการอะไรเกิดขึ้น 
     เมื่อคุณครูมยุรี สุวรรณรัตน์ นำการทดลองนี้ไปใช้กับเด็กจริงๆ เด็กๆสนใจ มีการตั้งคำถามให้เด็กสังเกตว่าทำไมน้ำตาลถึงละลาย เด็กก็จะรู้ว่าเป็นเพราะเราหยดน้ำลงไปนั้นเอง ซึ่งพัฒนาการที่เด็กได้ในวันนี้อย่างแรกเลยก็คือ พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้กล้ามเนื้อมือส่วนต่างๆในการหยิบ จับของ

กิจกรรมที่ 2 ความลับของสีดำ
     หยิบกระดาษทิชชู่ 2 ใบ ใบแรกพับทบครึ่งนึง เสร็จแล้วพับทบนึงอีกครั้ง และเอากรรไกรตัดมุม 1 มุมเพื่อทำเป็นรูตรงกลาง นำสีเมจิกสีดำวาดรูปอะไรก็ได้รอบวง จากนั้นนำกระดาษทิชชู่อีกใบหนึ่งม้วนเป็นกรวยที่จะเสียบเข้าไปในรูที่ตัดไว้เมื่อกี้ได้ เสร็จแล้วเอาตรงปากกรวย(ที่กว้างๆ)ใส่ลงไปในแก้วน้ำ สังเกตได้ว่าน้ำจะซึมขึ้นมากระจายออกไปทำให้สีที่วาดรอบรูกระดาษทิชชู่ละลายตัว ที่น้ำซึมเพราะกระดาษ มาจากตัวข้างล่างก่อนและผ่านมาชนกระดาษชิ้นบน เมื่อน้ำยังคงซึมอยู่ตลอดสีก็จะเคลื่อนที่ออกไปตามความกว้างของน้ำที่ซึม และสีก็จะค่อยๆจางลงด้วย
     ที่น่าสงสัยว่าเราใช้สีดำวาดสีเดียวแต่เมื่อสีละลายกับน้ำ เกิดสีอื่นๆ นอกจากสีดำ ปัจจัยแรกเพราะว่าสีแต่ละสีจะละลายน้ำดีไม่เท่ากัน สีที่ละลายน้ำได้ดีแล้วก็สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปกับน้ำได้เร็วกว่ามันก็จะเคลื่อนที่ไปได้ไกลกว่า กับอีกปัจจัยหนึ่งความสามารถของตัวสีที่มันจะดูดติดกับกระดาษ ถ้าดูดติดมากมันจะเคลื่อนที่ได้ช้า
     เมื่อคุณครูณัชนาพร ทาเขียว นำการทดลองนี้ไปประยุกต์ใช้โดยกำหนดรูปภาพให้เด็กออกมาระบายสีน้ำในรูปเพียงสีเดียวเท่านั้น(รูปอื่นๆก็คละสี) เช่น รูปสามเหลี่ยม ระบายสีเหลือง ไม่ใช้สีดำ และครูให้เด็กสังเกตน้ำในแก้วที่ใช้ล้างพู่กัน ทั้งที่เราไม่ได้ใช้สีดำเลย แต่น้ำในแก้วนั้นกลับเป็นสีดำ จากนั้นคุณครูก็นำเข้าสู่การทดลองความลับของสีดำ เด็กได้พัฒนาการทางภาษา กล้าแสดงออก และในเรื่องความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมที่ 3 การล้นของน้ำ
     ให้เลือก ฝาขวดน้ำ หรือ ที่รองแก้ว หรือขวดยาคูลท์ ใช้หลอดดูด ดูดน้ำใส่ลงไปจนเต็ม เมื่อเต็มค่อยหยดน้ำลงไปทีละหยด ให้สังเกตดูข้างๆว่าน้ำจะล้นออกมาไหม ปรากฏว่ายังไม่ล้น จึงลองเอาคลิปหนีบกระดาษหย่อนลงไปหลายอัน กว่าน้ำจะล้นออกมาจากปากขวด ก็หย่อนคลิปหนีบลงไป 20 กว่าอัน เกินความคาดหมายของเราที่คิดว่ามันน่าจะล้นได้ตั้งนานแล้ว เพราะว่าแรงดึงของน้ำจะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้เน้นให้เด็กรู้จักสังเกต รู้จักคิดตั้งคำถามแล้วหาคำตอบด้วยตนเอง

กิจกรรมที่ 4 การจม-การลอย
     การนำสิ่งของต่างๆ รอบๆตัวเรา เช่น หลอด ลูกปัด(แบบเล็ก หรือแบบใหญ่) ไม้จิ้มฟัน ฯลฯ ให้เด็กๆตั้งคำถาม คิดสิ่งของอันไหนน่าจะลอยน้ำ หรือจมน้ำ เมื่อทำการทดลอง อย่างหลอดหย่อนลงไปในน้ำ ลอยอยู่เหนือน้ำเพราะมันเบา ส่วนไม้จิ้มฟันที่เราคิดว่าลอยกลับจม แต่เราคิดว่าจะทำอย่างไรให้ลอย คือ เปลี่ยนลักษณะการวาง ค่อยๆวางลงไปเป็นแนวนอน เป็นต้น
     เด็กๆได้ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือการควบคุม ฝึกสมาธิตั้งใจในการวางให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้จม เพราะแรงดึงของน้ำ ซึ่งเราเรียกว่า แรงตึงผิว เวลาเราวางอะไรสักอย่างลงไปในน้ำ แรงที่เราวางถ้ามันค่อยเพียงพอ แรงตึงผิวของน้ำสามารถรองรับวัตถุอันนั้นได้ แต่ถ้าเราปล่อยลงไปแรงๆ จะมีแรงเพิ่มลงไป แสดงว่าแรงตึงผิวของน้ำรับแรงนี้ไม่ไหวมันก็จะจมลงไป

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มดิฉัน หน่วย ไก่ สอนเรียงตามวัน ดังนี้
  • วันจันทร์ เรื่อง ชนิด
  • วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
  • วันพุธ เรื่อง การดูแล หรือการดำรงชีวิต
  • วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวัง
  • วันศุกร์ เรื่อง การประกอบอาหาร
กลุ่มที่ 1 หน่วย กล้วย (ชนิด)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง กล้วยหวานๆนั้นมีหลากหลาย ใครรู้บ้างหนาว่ามีกล้วยอะไร และครูทบทวนในเนื้อเพลง ถามตอบกับเด็กว่า "เด็กจำได้ไหมค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง" จากนั้นครูนำภาพกล้วยแต่ละชนิดออกมาให้เด็กสังเกตและทายว่ากล้วยในรูป คือกล้วยอะไร
     (คำแนะนำจากอาจารย์)
     - ควรนำกล้วยที่เป็นของจริงแต่ละชนิดมาให้เด็กดู หรืออาจให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยแจงกับผู้ปกครองล่วงหน้าว่าจะเรียนเรื่องกล้วย แล้วให้เด็กนำกล้วยมา
     - เรื่องของสื่อ ไม่ควรใช้มือปิดคำ ควรทำให้มีที่ปิดคำสวยงาม


กลุ่มที่ 2 หน่วย ไก่ (ลักษณะ)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูนำภาพส่วนประกอบของไก่ให้เด็กๆดู เสร็จแล้วครูนำภาพไก่ต๊อก ไก่แจ้ให้เด็กสังเกตลักษณะส่วนต่างๆ เช่น สี ขนาด ส่วนประกอบของไก่แต่ละชนิด และใช้คำถาม ถามตอบกับเด็ก พร้อมทั้งให้เด็กๆออกมาหยิบแผ่นส่วนต่างๆของไก่ทั้งสองชนิด ใส่ลงไปให้ถูกช่องของไก่นั้นๆ จากนั้นครูใช้แผนภูมิ(วงกลมซ้อนกัน) ถามเด็กว่า "เด็กๆคิดว่าไก่ต๊อกมีอะไร ไก่แจ้ไม่มีอะไร" และความเหมือนความต่าง พร้อมเขียนบันทึก
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     การสอนส่วนประกอบไม่ควรเขียนมาก่อน ควรเติมคำพร้อมๆกับการสอน เพราะจะทำให้เด็กได้รู้จักคิด ค้นหาคำตอบ หรือใช้ภาพตัดต่อ มีเทคนิค เช่น "เด็กๆหลับตาลงสิค่ะ" ครูแจกภาพตัดต่อให้เด็ก และเด็กนำมาต่อกัน และเรื่องแผนภูมิควรถามเรื่องความเหมือนความต่างก่อนที่จะถามเด็กว่าไก่แต่ละตัวมีอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้าง


กลุ่มที่ 3 หน่วย กบ (การดำรงชีวิต)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูให้เด็กๆดู VDO เกี่ยวกับวงจรชีวิตของกบ

     หลังจากนั้นครูทบทวนเนื้อหาจาก VDO อีกครั้ง แล้วนำภาพวงจรชีวิตของกบให้เด็กๆดู และสอนเรื่องการดำรงชีวิตของกบ
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     ครูควรพูดเสียงดังฟังชัด และสื่ออาจจะทำใหญ่ๆ ให้เด็กมองทั่วถึง

กลุ่มที่ 4 หน่วย ปลา (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)
     (การนำเสนอ)
     ครูเล่านิทาน ฝูงปลากับชาวประมง ให้เด็กๆฟัง หลังจากนั้นครูใช้คำถาม "เด็กๆคิดว่าปลามีประโยชน์อย่างไร ข้อพึงระวังอย่างไร" ฯลฯ และครูนำคำตอบติดลงไปในแผ่นกราฟฟิค
     (คำแนะนำของอาจารย์)
     นิทาน บางประโยคอาจมีการเล่าที่แตกต่าง ไม่เล่าแต่คำซ้ำๆกัน

กลุ่มที่ 5 หน่วย ข้าว (การประกอบอาหาร)

     (การนำเสนอ)
     ครูให้เด็กออกมามีส่วนร่วมในการหั่นปูอัด แครอท ฯลฯ และออกมาเทวัตถุดิบลงไปในกะทะ พร้อมกับให้เด็กๆลองพลิกข้าว จนได้เป็นรูปวงกลม(ทาโกยากิ) เมื่อทำเสร็จแล้วให้เด็กๆชิมรสชาติที่ตนเองทำ
     (คะแนะนำของอาจารย์)
     ควรเตรียมวัตถุดิบต่างๆมาให้พร้อม หั่นปูอัด หั่นแครอทไว้แล้ว ใส่ถ้วยเรียบร้อย แต่เหลือส่วนที่เป็นชิ้นตัวอย่าง เมื่อเวลาให้เด็กสังเกต เพื่ออธิบายได้ว่าอันนี้คือ แครอทนะมาจากสิ่งนี้ และซอสก็ควรเทใส่ถ้วย ไม่ควรให้เด็กจับขวดเท และให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการหยิบวัตถุดิบต่างๆลงไป ทั้งหมดเพื่อให้เด็กรู้จักสังเกต คาดคะเนว่าเราควรใส่ลงไปเท่าไหร่ดี

กลุ่มที่ 6 หน่วย ต้นไม้ (ชนิด)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ และใช้คำถามปลายเปิด เช่น "ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรบ้าง" จากนั้นครูนำภาพต้นไม่้ให้เด็กดู พร้อมทั้งให้เด็กออกไปนับจำนวนต้นไม้ในรูปและติดเลขฮินดูอารบิก

กลุ่มที่ 7 หน่วย นม (ลักษณะ)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ หลังจากนั้นครูให้เด็กดูสีของนม และพาเด็กๆทดลองสีเต้นระบำ โดยการเทนมลงไปในจานและหยดสีน้ำตามลงไป และตามด้วยน้ำยาล้างจาน สังเกตได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหยดน้ำยาล้างจานลงไป สีที่อยู่ในจานเคลื่อนไหวไปมา

กลุ่มที่ 8 หน่วย น้ำ (การดูแล)
     (การนำเสนอ)
     ขั้นนำ ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง อย่าทิ้ง จากนั้นครูเล่านิทาน อย่าทิ้งขยะ ซึ่งนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ไม่ให้เด็กๆทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อที่น้ำจะได้ไม่เน่าเสีย ครูควรใช้คำถามปลายเปิด เช่น "เด็กๆจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้แม่น้ำเน่าเสีย"เมื่อเล่านิทานจบครูให้เด็กๆตกแต่งป้าย "ห้ามทิ้งขยะ"

กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)
    (การนำเสนอ) 
     ขั้นนำ เพลง , นิทาน หรือใช้ภาพการปลูกต้นมะพร้าว ครูใช้คำถามปลายเปิด "เด็กๆคิดว่าต้นมะพร้าวปลูกที่ไหนได้" และครูนำภาพการเพาะปลูกต้นมะพร้าวมาให้เด็กๆดูพร้อมอธิบายขั้นตอนไปด้วย

กลุ่มที่ 10 หน่วย ผลไม้ (การประกอบอาหาร)
     (การนำเสนอ)
     ครูหยิบเครื่องปรุงต่างๆที่อยู่ในถ้วย ให้เด็กๆสังเกต และใช้คำถามกับเด็กว่า "รู้ไหมค่ะว่าคืออะไร" พร้อมทั้งอธิบายผลไม้ต่างๆ จากนั้นครูให้เด็กๆออกมามีส่วนร่วม โดยให้เด็กหยิบผลไม้ใส่ลงไปในกะทะ หลังจากเสร็จเรียบร้อย ครูให้เด็กทุกคนชิมรสชาติของ ผลไม้ผัดเนย


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเทคนิคการสอนต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในวิชาอื่นๆได้หรือดัดแปลงจากที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในแบบการสอนของตนเองหรืออาจเพิ่มเติมสิ่งแปลกใหม่ และอย่างการจัดการสอน เรื่อง การประกอบอาหาร ครูควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการทำและเวลาทดลองครูควรให้ความสำคัญ สนใจกับคำถามของเด็กๆเสมอ พร้อมกับคอยถามตอบกับเด็กอยู่ตลอดเวลา
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มีการแนะนำเทคนิคการสอนในแบบต่างๆ ที่หลากหลายออกไป
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอแผนการสอน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการแนะเทคนิคการสอนแบบต่างๆให้ทุกกลุ่ม นำไปปรับใช้

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...