วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน
อุปกรณ์ (Equipment)

  1. กระดาษหน้าปก (Paper)
  2. แกนกระดาษทิชชู่ (Tissue Paper)
  3. ไหมพรม 1 วา (Yarn)
  4. กรรไกร (Scissors)
  5. ดินสอ (Pencil)
  6. กาว (Glue)
  7. เครื่องเจาะกระดาษ (Paper Punches)
วิธีทำ (Howto)
- ภาพที่ 1 นำแกนกระดาษทิชชู่วางทาบลงบนกระดาษที่เตรียมไว้ และวาดวงกลมลงไป
- ภาพที่ 2 เมื่อวาดวงกลมเสร็จจะได้ดังภาพ
- ภาพที่ 3 นำกรรไกรมาตัดตามเส้นวงกลมที่วาดเอาไว้
- ภาพที่ 4 เมื่อตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมแล้ว จินตนาการสร้างสรรค์วาดรูปภาพออกมาตามใจตนเอง
- ภาพที่ 5 นำแกนกระดาษทิชชู่ 1 อัน ตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อน และใช้เครื่องเจาะกระดาษเจาะรูให้ทะลุไปด้านหลังดังภาพ
- ภาพที่ 6 นำไหมพรมยาวประมาณ 1 วา สอดเข้าไปในรูทุกด้าน
- ภาพที่ 7 ไหมพรมสอดเข้าไปเรียบร้อยแล้ว  และก็มัดปมให้แน่น
- ภาพที่ 8 ทากาวรูปวงกลมที่วาดไว้ และนำมาติดตรงกลางแกนกระดาษทิชชู่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
วิธีเล่น (How to play)
     นำด้านใดด้านหนึ่งคล้องคอ ส่วนด้านล่างมือซ้ายกับมือขวาจับเส้นไหมพรมไว้ทั้งสองข้าง และดึงเส้นไหมพรมขึ้นลงสลับกันไปมา สังเกตได้ว่าแกนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ตรงกลางจะเคลื่อนที่ขึ้นลงหรืออาจไม่เคลื่อนที่ ขึ้นอยู่กับการเล่น ความเร็วในการดึงของแต่ละคนด้วย หลังจากนั้นเพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ ดังต่อไปนี้
บทความที่ 1 เรื่อง : สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
บทความที่ 2 เรื่อง : จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ...สนุกคิดกับของเล่นวิทย์
บทความที่ 3 เรื่อง : สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติ
บทความที่ 4 เรื่อง : การส่งเสริมกระบวนการคิด
บทความที่ 5 เรื่อง : การสอนลูกเรื่องอากาศ

สรุป บทความ (Article)

การบ้าน การส่งของแรง (หาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งประดิษฐ์ที่ทำในวันนี้)
     แรง (FORCE) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือวัตถุอาจเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ เพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุอยู่ด้วย หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
ชนิดของแรง
     1.แรงโน้มถ่วงของโลก
     2.แรงปฏิกิริยาระหว่างผิวสัมผัส เมื่อวัตถุมีผิวสัมผัสซึ่งกันและกันจะเกิดแรงระหว่างผิวสัมผัสขึ้น โดยทิศทางของแรงจะมีทิศตั้งฉากกับผิวสัมผัส ขนาดของแรงระหว่างผิวสัมผัสจะมากหรือน้อยขึ้นกับการสัมผัสว่ามีแรงกระทำมากน้อยเท่าไร
     3.แรงตึงเชือก แรงที่เกิดขึ้นจากการที่ทำให้เชือกตึง โดยดึงปลายเชือกทั้ง 2 ด้าน แรงตึงในตัวเชือกที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกินแรงสูงสุดที่เชือกจะรับได้ ค่าของแรงตึงเชือกจะแปรไปตามค่าของแรงที่มากระทำต่อเชือก
     4.แรงจากสปริง คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ถูกผูกติดไว้กับสปริงในแนวราบ แล้ววัตถุเคลื่อนที่ไปมาตามแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุ
     5.แรงเสียดทาน (Friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
               1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
               2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่
     มวล (Mass) คือ ปริมาณของวัตถุที่ต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ มวลเป็นปริมาณ สเกลาร์ มีหน่วยวัดเป็นกิโลกรัม(kg) (วัตถุที่อยู่นิ่ง จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ ในทำนองเดียวกัน วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่แล้ว ก็จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นหยุดนิ่ง วัตถุมวลมากจะต้านได้มาก วัตถุมวลน้อยจะต้านได้น้อย)
ข้อมูลเพิ่มเติมCick / Cick
การนำไปประยุกต์ใช้
     ของเล่นที่ทำวันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแกนทิชชู่, ไหมพรม เราสามารถนำไปประยุกต์นำอย่างอื่นมาประดิษฐ์ได้ นำไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     ให้เด็กคิดอย่างอิสระ และลงมือกระทำในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เด็กรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการเรียนรู้ การคิด การสังเกต ค้นหา ว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นคืออะไร นำมาซึ่งการลงมือทดลอง และการสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน แบ่งปันของร่วมกันกับเพื่อน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ และมีกิจกรรมการประดิษฐ์น่าสนใจ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น