บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อุปกรณ์ (Equipment)
1. ขวดน้ำพลาสติกพร้อมฝาปิด (Water Bottles)
2. น้ำมันพืช (Vegetable Oil) หรือจะใช้ Baby Oil, น้ำมันมะพร้าว ก็ได้ตามสะดวกที่มีค่ะ
3. สีผสมอาหาร สีฟ้าสด (Food Colour Light Blue) หรือสีน้ำเงินค่ะ
4. กรวดก้อนเล็กๆ (ถ้ามี) (Gravel)
5. ปลา, เปลือกหอย หรือของเล่นชิ้นเล็กๆ (ถ้ามี)
6. กากเพชร (ถ้ามี) (Glitter)
7. กรวยกรอง (ไว้สำหรับลองตอนเทน้ำมันพืชลงไปในขวดกันหกค่ะ)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็กสามารถทำได้ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน
- ทำจากวัสดุเหลือใช้
- เด็กสามารถนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่
- เด็กจะต้องได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
คลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)
1. ขวดน้ำพลาสติกพร้อมฝาปิด (Water Bottles)
2. น้ำมันพืช (Vegetable Oil) หรือจะใช้ Baby Oil, น้ำมันมะพร้าว ก็ได้ตามสะดวกที่มีค่ะ
3. สีผสมอาหาร สีฟ้าสด (Food Colour Light Blue) หรือสีน้ำเงินค่ะ
4. กรวดก้อนเล็กๆ (ถ้ามี) (Gravel)
5. ปลา, เปลือกหอย หรือของเล่นชิ้นเล็กๆ (ถ้ามี)
6. กากเพชร (ถ้ามี) (Glitter)
7. กรวยกรอง (ไว้สำหรับลองตอนเทน้ำมันพืชลงไปในขวดกันหกค่ะ)
ไม่ยากเลยค่ะ อย่างน้องโดนัทดิฉันทำไปพร้อมๆกันคนละ 1 ขวด เราก็จะคอยบอกว่าทำอย่างไร และช่วยเหลือบ้างบางครั้ง
1. เริ่มจากใส่น้ำลงไปในขวดพลาสติกประมาณ 1 ส่วน 3 ของขวด
2. หยดสีผสมอาหารสีฟ้าลงไปเล็กน้อยเพื่อให้น้ำเป็นสีฟ้าเหมือนทะเล
2. หยดสีผสมอาหารสีฟ้าลงไปเล็กน้อยเพื่อให้น้ำเป็นสีฟ้าเหมือนทะเล
3. จากนั้นเป็นการตกแต่งใต้มหาสมุทรตามจินตนาการและของที่มี ที่บ้านค่ะ ใส่พวกก้อนกรวดเปลือกหอยแล้วก็ตุ๊กตาตัวเล็กๆ และกากเพชร ให้น้องโดนัทค่อยๆหย่อนของทุกอย่างลงไปในขวด
4. เมื่อใส่ของเล่นทุกอย่างเสร็จแล้ว เทน้ำมันพืชลงไปจนเต็มขวด (ขั้นตอนนี้ให้น้องสังเกตไปด้วยว่าน้ำกับน้ำมันจะเป็นอย่างไร น้องโดนัทตื่นเต้นมากเมื่อเห็นปฏิกิริยา)
5. เทน้ำมันเต็มขวดแล้ว ปิดฝาขวดให้แน่นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
จะเกิดคลื่นได้อย่างไร? เวลาเล่นเราค่อยๆโยกขวดไป-มาช้าๆ แค่นี้เองเราก็จะได้คลื่นที่เราเห็นอยู่ในท้องทะเลและมีความสวยงามด้วยค่ะ
หลังการทดลองทำคลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)
น้องโดนัทสนุกสนานกับการทำคลื่นทะเลในขวดมากค่ะ เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น เมื่อได้ลงมือกระทำเด็กมีความกระตือรือร้นในสิ่งที่เขาสนใจ และเขาก็สนุกกับการได้ตกแต่งอยากให้ใต้มหาสมุทรของตัวเองสวยงามมีอะไรในนั้น เขาก็จะใส่ๆลงไป พอโยกขวดไปมาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของน้ำกับน้ำมันไม่ผสมกันทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น เกิดคลื่นทำให้เขาสนุกในการเล่นเมื่อเห็นสิ่งที่ตนประดิษฐ์เองเกิดความสวยงามเหมือนคลื่นทะเลจริง น้องก็จะพูดตลอดว่า “เหมือนทะเลที่หนูไปมาเลย”, “สวยมากๆเลยค่ะ”, “พี่พลอยเอาวิทยาศาสตร์มาให้หนูเล่นอีกนะค่ะ” น้องโดนัทก็เกิดความภาคภูมิใจและสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น อยากรู้อยากเห็น อยากลงมือกระทำสิ่งทดลองวิทยาศาสตร์ใหม่ๆต่อไปอีกเรื่อยๆค่ะ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของคลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)
น้ำกับน้ำมันจะไม่ผสมกันแต่จะแยกชั้นกัน เพราะว่าสภาพความเป็นขั้วแตกต่างกัน น้ำเป็นพวกโมเลกุลที่มี "ขั้ว" เพราะว่าออกซิเจนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN) สูงกว่าไฮโดรเจน ออกซิเจนมีขั้วลบ ในขณะที่ไฮโดรเจนมีขั้วบวก แสดงว่าน้ำเป็นโมเมนต์ขั้วคู่ ปฏิกิริยาระหว่างขั้วของแต่ละโมเลกุลเป็นเหตุให้เกิดแรงดึงดูดที่เชื่อมโยงกับมวลรวมของน้ำของความตึงผิว แต่น้ำมันเป็นพวกโมเลกุล "ไม่มีขั้ว" จึงแยกกันอยู่ และน้ำกับน้ำมันหนักไม่เท่ากัน "น้ำ" หนักกว่า ก็จมลงล่าง (ความหนาแน่นประมาณ 1.00) ส่วน "น้ำมัน" เบากว่าก็ลอยขึ้นข้างบน (ความหนาแน่นประมาณ 0.85)บรรยากาศภายในห้องการนำเสนอของเล่นวิทย์ |
ของเล่นวิทยาศาสตร์แต่ละชิ้นที่เพื่อนๆนำเสนอในวันนี้ ได้ให้ความรู้มากมาย ซึ่งการนำไปสอนเด็ก เราสามารถนำไปประยุกต์โดยการนำสิ่งของอย่างอื่นที่สามารถทำได้นอกจากที่เพื่อนทำ จะทำให้เด็กรู้จักคิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ลูกข่างที่ทำจากแผ่นซีดี เราอาจจะเอาดินน้ำมันมาทำก็ได้ เป็นต้น
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็กในเรื่องของสื่อที่ประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย
การประเมินผล (Evaluation)
- การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ นำเสนอพูดเสียงตะกุกตะกัก อาจจะพูดเร็วไปบ้าง
- การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ระหว่างที่อาจารย์ถามเพื่อนที่นำเสนอสื่อ เพื่อนๆก็ร่วมช่วยกันตอบ ข่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับของเล่นต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น