วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ

ความลับของอากาศ


สรุป เนื้อหาจากการดู VDO เรื่อง ความลับของอากาศ
     อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ ถึงเราจะมองไม่เห็น ซึ่งอากาศไม่มีขนาดรูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้ อากาศมีทั้งร้อนและเย็นมีน้ำหนักเหมือนวัตถุ โดยอากาศร้อนจะมีน้ำนักเบากว่าอากาศเย็น มนุษย์จึงนำไปใช้ประโยชน์โดยทำให้บอลลูนลอยขึ้นไปได้เพราะความร้อนของอากาศจะทำให้บอลลูนลอย
     อากาศนั้นทำให้เกิดลม ซึ่งลมก็คืออากาศที่สามารถเคลื่อนที่ได้ บนโลกของเราจะมีลมเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละพื้นที่จะร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหน ลมสามารถเปลี่ยนไปตามทิศทางของวัตถุที่มากีดขวาง
     มนุษย์จึงมีการนำเรื่องของหลักการแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้หลอดดูด การผลิตเครื่องบิน และในอากาศร้อนจะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ แรงต้านของอากาศจะเกิดเมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ โดยมนุษย์นำเรื่องแรงต้านมาใช้ในเรื่องการกระโดดร่มให้ถึงพื้นช้า อากาศจึงมีความสำคัญต่อเรามากมายเลยทีเดียว นอกจากจะใช้หายใจแล้ว อากาศยังทำให้เกิดลม และเรายังใช้คุณสมบัติของอากาศมาใช้เป็นหลักในการสร้างสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick , Cick
กลไกการประดิษฐ์
     บอลลูนอากาศร้อนเป็นอากาศยานเพื่อใช้ในการเคลือนที่ในอากาศได้เป็นชนิดแรกของโลก โดยมีการนำมาใช้จริงในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1783 ที่กรุงปารีส บอลลูนจะมีถุงหรือซองเก็บอากาศที่ร้อนและมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศที่อยู่นอกถุง จึงทำให้มันลอยขึ้นจากพื้นได้ ตัวถุงมักทำด้วยผ้าใบไนลอนและจะเป็นถุงเปิดทางด้านล่าง เพื่อเปิดต่อกับทางเข้าของความร้อนและตัวถุงจะมีความดันใกล้เคียงบรรยากาศภายนอกข้างใต้ถุง มักจะมีตะกร้าหรือแคปซูลเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน โดยใช้แก๊สหรือเชื่อเพลิงร้อน โดยมีพื้นที่ในการใช้พื้นที่สำหรับผู้ควบคุมหรือผู้โดยสาร โดยใช้หลักการเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของลมแต่ถ้าเรือเหาะชนิดอื่นๆจะมีเครื่องยนต์ในการบังคับการเคลื่อนที่และความเร็วในการเคลื่อนที่ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick
ความรู้เพิ่มเติม : Cick
                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น