บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น ซึ่งในความคิดของดิฉัน คิดว่าคล้าย "ลูกยาง" มาจากต้นยางนา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocapus alatus Roxb. ex G.Don) แต่เราจะทำด้วยกระดาษ
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
อุปกรณ์ (Equipment)
- กระดาษหน้าปก (Paper)
- คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)
- กรรไกร (Scissors)
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ตัดกระดาษตรงกลางยาวชิดขอบรอยพับ ดังภาพด้านล่าง
ส่วนอาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 3,4 และ 5 ตัดกระดาษตรงกลางไม่ยาวมาก(แล้วแต่จะตัดแบบไหน)วิธีทำ (How to) |
- ภาพที่ 1 เมื่อตัดกระดาษได้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามภาพแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่ง
- ภาพที่ 2 พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางชิดรอยพับ เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 2 พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางชิดรอยพับ เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 3 ตัดกระดาษเสร็จแล้ว พับส่วนที่ตัดไปคนละด้านดังภาพ
- ภาพที่ 4 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัดดังภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
วิธีทำ (How to)
- ภาพที่ 2 พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางไม่ยาวมาก เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 3 ตัดกระดาษเสร็จแล้ว พับส่วนที่ตัดไปคนละด้านดังภาพ
- ภาพที่ 4 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัดดังภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
อาจารย์ให้แถวที่ 1 ถึงแถวที่ 5 ออกมาเล่นทีละแถว วิธีเล่น ให้แต่ละคนโยน ขว้าง หรือปา ก็ได้ ลงมาจากที่สูง
แถวที่ 1 และ 2 เมื่อขว้างลงมาจากที่สูง พบว่าลูกยาง(กระดาษ) จะหมุนเป็นวงกลมคล้ายลูกยาง และตกลงสู่พื้น (เนื่องจากถ่ายภาพเคลื่อนไหว แล้วเห็นไม่ชัด ดิฉันจึงนำภาพด้านล่างมาเป็นตัวอย่าง)
ตัวอย่าง การหมุนของแถวที่ 1,2
ลูกยาง |
ที่ต่างกันเพราะแรงน้วมถ่วง และแรงต้านทาน จึงนำมาประยุกต์เป็น เครื่องบิน, ร่มชูชีพ ฯลฯ การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่งเสริมพัฒนาการตามคุณลักษณะตามวัย บนพื้นฐานทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ 5 คน
สรุป บทความ(Article)
คนที่ 1 น.ส.พัชราภา บุญเพิ่ม บทความเรื่อง : แสงสีกับชีวิตประจำวัน ข้อมูล : Cickคนที่ 2 น.ส.รัชดาภรณ์ นันบุญมา บทความเรื่อง : เงามหัศจรรย์ต่อสมอง ข้อมูล : Cick
คนที่ 3 น.ส.ฐิติมา บำรุงกิจ บทความเรื่อง : สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ข้อมูล : Cick
คนที่ 4 น.ส.เนตรยา เนื่องน้อย บทความเรื่อง : วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ข้อมูล : Cick
คนที่ 5 น.ส.จิตราภรณ์ นาคแย้ม บทความเรื่อง : การทดลองวิทยาศาสตร์(Science experiments) ข้อมูล : Cick
เมื่อเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ให้นำแผนแต่ละกลุ่มไปติดที่ผนังห้องเพื่อแชร์ความรู้ร่วมกัน และตรวจทานเพื่อนำไปแก้ไข
กลุ่มของดิฉัน เรื่อง ไก่ (Chicken)
สรุป Mind Map
เรื่อง ไก่ (Chicken)
การนำไปประยุกต์ใช้
ของเล่นที่ทำวันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษ เราสามารถนำไปประยุกต์นำอย่างอื่นมาประดิษฐ์ได้ นำไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
ให้เด็กคิดอย่างอิสระ และลงมือกระทำในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เด็กรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการเรียนรู้ การคิด การสังเกต ค้นหา ว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นคืออะไร นำมาซึ่งการลงมือทดลอง และการสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย
การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล (Evaluation)
- การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
- การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
- การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ มีกิจกรรมการประดิษฐ์น่าสนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น