วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย
     คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี)
ทฤษฎีการทดลองของพาฟลอฟ
     
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) เป็นการเรียนรู้แบบที่มีต่อสิ่งเร้าสองสิ่ง สิ่งเร้า สิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าแท้ และสิ่งเร้าอีกสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าเทียมโดยสิ่งเร้าเทียม จะทำหน้าที่แทนสิ่งเร้าแท้ได้ โดยที่มีผลตอบสนอง เช่นเดียวกับสิ่งเร้าแท้ ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
      อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ได้ทดลองในสุนัข โดยให้อาหารสุนัข เมื่อสุนัขได้อาหารจะเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์อย่างง่ายขึ้น คือ น้ำลายไหลออกมาขณะที่กินอาหาร ต่อมา พาฟลอฟ ให้อาหารพร้อมกับสั่นกระดิ่งไปด้วยหลายๆ ครั้ง สุนัขจะมีน้ำลายไหลออกมาด้วยเสมอ เพียงแต่ พาฟลอฟสั่นกระดิ่งเท่านั้น สุนัขก็เกิดอาการน้ำลายไหลแล้วทั้งๆ ที่ตามปกติ เสียงกระดิ่ง ไม่สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้
      พบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคืออาหารที่เป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditioned stimulus)
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (การทดลองของวัตสัน)
      ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่เกิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
อุปกรณ์การทดลอง
  • เด็กชาย อัลเบิร์ด อายุ 11 เดือน
  • หนูขาว
  • เหล็ก
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
กีเซล (Gesell)
  • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  • การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
  • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
  • จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
ฟรอยด์ (Freud)
  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอยกับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา
  • จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อีริคสัน (Erikson)
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ
เพียเจท์ (Piaget)
  • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความมคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0-6 ปี)
  1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
  2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • จัดให้เด็กได้เรียนรู้จาสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
ดิวอี้ (Dewey)
  • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ
สกินเนอร์ (Skinner)
  • ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
  • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
  • ไม่นำเด็กเปรียบเทียบแข่งขันกัน
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
  • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
  • เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการและระดับความสามารถในการเรียน
  • เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เฟรอเบล (Froeble)
  • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
  • การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
เอลคายน์ (Elkind)
  • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
  • เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  • การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  • เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
  • กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ
การเรียนรู้แบบองค์รวม

Mind Map
สรุป รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้
     จากทฤษฎีต่างๆ เราสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมต่างสอนเด็กให้ถูกต้องเหมาะสม
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนสาย
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ สอนเนื้อหาละเอียด ทฤษฎีไม่นำข้อมูลมาเยอะจนเกินไป ทำให้ดูไม่น่าเบื่อหน่าย

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น