บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
สัปดาห์นี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ สัปดาห์ละ 5 คน คนละ 1 บทความ
คนที่ 1 น.ส.มนสิชา ศิลปสิทธิ์ บทความเรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick
คนที่ 2 น.ส.เจนจิรา ไทยแท้ บทความเรื่อง : 5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล
ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick
คนที่ 3 น.ส.สุวนันท์ มณีทิพย์ บทความเรื่อง : อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน"วันนักวิทยาศาสตร์น้อย"หวังปลูกความรักวิทยาศสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 : นายพิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวในงานพิธีเปิดงาน “วันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 2556” ว่า ในยุคปัจจุบัน การพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ ต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของประชากรด้วยการศึกษา รวมทั้งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ จากผลการประเมินระดับนานาชาติ เช่น Programme for International Student Assessment : PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผู้ปกครองต่างต้องตระหนักที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick
คนที่ 4 น.ส.เปี่ยมสิริ เรืองฤทธิ์ บทความเรื่อง : สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming)
สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงและการใช้สารเคมี ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ถูกก๊าซเรือนกระจกกักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบให้สภาพอากาศในโลกเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่น เกิดภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาด จึงส่งผลให้คนเสียชีวิต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่โลกร้อน และวิธีการลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้หรือของเล่นมาใช้ซ้ำหรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีดังกล่าวสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีๆให้เด็กได้รู้จักรักของ ประหยัด อดทน และช่วยลดขยะหรือสิ่งเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในโลก ตลอดจนช่วยลดการใช้พลังงานหรือสารเคมีที่นำมาผลิตสิ่งของใหม่ ซึ่งมีผลกระทบที่ทำให้เกิดเรือนกระจกไปบังการสะท้อนกลับของรังสีจากดวงอาทิตย์ การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนเป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกนี้ การจัดกิจกรรมลดสภาวะโลกร้อนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจที่บ้านและครอบครัวจะส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
จากนั้นเมื่อเพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จ อาจารย์ชี้แนะสอนให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
1.การเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง
3.การปรับตัว
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
6.ความใจกว้าง
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
สรุป Mind Map
ความรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : Cick , Cickทักษะการสังเกต
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไปทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการ สังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick , Cick , Cick
การนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ทำให้รู้ลึกซึ้งมากขึ้น ควรให้เด็กลงมือกระทำ รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เราจัดกิจกรรมที่เด็กสามารถมองเห็น ลงมือสัมผัสกระทำได้ เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย
การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล (Evaluation)
- การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย
- การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
- การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบดีมากคะขอซื่นชม..ขอเพียงปรับปรุงตัวหนังสือซึ่งทำให้Blogของคุณน่าอ่านน้อยลง เพิ่มเติมคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะคำศัพท์ของเนื้อหาวิชาจะดีมากนะคะ และศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ
ตอบลบ