วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     อาจารย์ให้ความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
เด็กปฐมวัย นิยามความหมาย เด็กแรก-5 ปี 11 เดือน 29 วัน
1.พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างความคิดด้านร่างกาย, ด้านสติปัญญา, ด้านอารมณ์, ด้านสังคม
2.การเรียนรู้การเล่นของเด็ก
3.การอบรมเลี้ยงดู
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการ คือ สิ่งที่เด็กสามารถทำได้

ขั้นพัฒนาการ

     ขั้นที่ 1 การรับรู้ ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี โดยใช้ประสาทสัมผัสที่ 5 ซึมซับไปยังสมอง พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ

     ขั้นที่ 2 ก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

     1.ขั้นก่อนเกิดสังกัป เด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้นสามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันแต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนักนอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกันจะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

     2.ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)เด็กอายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนักสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อนรู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆไปมาสรุปแก้ปัญหาโดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

วิธีการเรียนรู้

     เด็กลงมือกระทำกับวัตถุหรือกิจกรรมนั้นๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์, ภาษา มาใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์

  • ความพยายามเช่นนี้ติดตัวเด็กมาตั้งแต่แรกเกิดซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
  • การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
  • ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม 
  • ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ 
  • ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะ และแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ทบทวนบทบาท
  • เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม 
  • ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ 
  • จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม 
  • ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้ 
  • ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
Mind Map

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นเทคนิค แนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัยพัฒนาการของเขา
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย แต่บางครั้งก็คุยบ้าง
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงได้ดี
                                   คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...                    

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอชื่นชมการสรุปเนื้อหาด้วยแผนที่ความคิดอย่างเป็นระบบ ขอควรเพิ่มเติมคือการใช้ภาษาอังกฤษขอให้ทบทวนข้อตกลงและแนวทางการประเมินที่นำเสนอในการเรียนครั้งที่1นะคะ ตัวหนังสือหรือองค์ประกอบต่างๆลองใช้ความคิดในการนำเสนอให้น่าสนใจและสวยงาม

    ตอบลบ