วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

ชื่อบทความ : วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย Click (ฉบับเต็ม)
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
     วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆรอบๆตัวเรา ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่น ทีวี วิทยุเป็นต้น เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ

     กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยให้เด็กรู้โลกรอบตัวด้วยความเข้าใจคือการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองและได้เป็นผู้จัดระบบอุปกรณ์ สำรวจ ตั้งคำถาม ใช้เหตุผลและแสวงหาคำตอบจากกิจกรรมทางกายและทางสมอง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้นซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา เด็กรับรู้และพยายามทำงานอย่างมีส่วนร่วมเรียนรู้ภาษาจากการทำกิจกรรมเพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวของเด็กเอง ช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้อยากแสวงหาความรู้ต่อไป ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่อคำว่า ทำไม ทำอย่างไร อะไรบ้าง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าของเด็กในการสร้างองค์ความรู้ทำให้เกิดเจตคติที่ดี การแสวงหาความรู้ในห้องเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ศึกษาได้บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปกับการแสวงหาความรู้ ผู้เรียนทุกระดับและทุกจุดมุ่งหมายทางวิทยาศาสตร์จะใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ค้นหาคำตอบ ทักษะการแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการค้นหาความรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเป็นระบบจนเกิดความเข้าใจประกอบด้วย ความสามารถ 5 ด้าน ดังนี้ การตั้งคำถาม การสืบค้น การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูลสร้างความเข้าใจและการเผยแพร่ความรู้ที่ค้นพบ

                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น