วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 ตุลาคม พ.ศ.2557 
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือกระทำการทดลองต่างๆ
อุปกรณ์(Equipment)
(ที่จำเป็น)
  • โหลแก้ว สำหรับใส่น้ำ
  • ขวดพลาสติกพร้อมน้ำ
  • กรรไกร
  • กรวย
  • สีเมจิก
  • ดินสอ
  • กระดาษร้อยปอนด์ และกระดาษ A4
  • ดินน้ำมัน

การทดลองในวันนี้

การทดลองที่ 1  อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเป็นรูปวงกลมขนาดใดก็ได้ตามความต้องการ
ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปวงกลม
     จากนั้นเมื่อปั้นเสร็จให้แต่ละคนออกมาและนำดินน้ำมันที่ปั้นหย่อนลงไปในโหลแก้วที่มีน้ำอยู่ จะพบว่าดินน้ำมันจมลงไปข้างล่าง
ดินน้ำมันจมลงข้างล่าง

การทดลองที่ 2 ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงใดก็ได้ ที่คิดว่าเบาที่สุดและสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งจากภาพดิฉันปั้นรูปทรงแบน
ปั้นดินน้ำมันรูปทรงแบน
     ภาพแรกเมื่อนำลงไปใส่ในโหลจะเห็นว่าจมลงข้างล่างเช่นกัน เพราะน้ำสามารถเข้าไปได้ทำให้จมลง แต่พอภาพตรงกลาง,ภาพสุดท้าย ดินน้ำมันของเพื่อนที่ปั้นเป็นรูปทรงคล้ายๆเรือ หรือถ้วย(ปั้นมีขอบ) พอหย่อนลงไปในโหลบางคนก็จม บางคนก็ลอยน้ำ คนที่ลอยน้ำ เพราะการที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำและน้ำก็มีแรงดัน(pressure)วัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้เรียกว่าแรงลอยตัวหรือแรงพยุง ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ความหนาแน่น(densely)ของวัตถุจะลดลงและแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้นวัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้ (แต่ถ้าน้ำเข้าไปได้ก็สามารถจมได้เหมือนกัน)
ภาพปั้นดินน้ำมันรูปทรงต่างๆ มีทั้งลอยน้ำ และจมลง
การทดลองที่ 3 ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ แบบใดก็ได้ตามต้องการ
  • ภาพที่ 1 ตัดกระดาษร้อยปอนด์หรือกระดาษ A4 ครึ่งหนึ่งของ A4
  • ภาพที่ 2 พับกระดาษอีกครั้งหนึ่ง
  • ภาพที่ 3 วาดรูปดอกไม้แบบไหนก็ได้ลงไปตรงกึ่งกลางของกระดาษ
  • ภาพที่ 4 ตัดตามที่เราวาด เสร็จแล้วระบายสีลงไป
     เมื่อตัดและระบายสีดอกไม้เรียบร้อยแล้ว พับกลีบดอกไม้เข้าไปทั้งหมด(พับเข้าไปเท่าที่ตัดถึง)
     จากนั้นแต่ละแถวออกมา และนำดอกไม้ใส่ลงในโหลที่มีน้ำ จากภาพจะเห็นได้ว่ากลีบดอกไม้ค่อยๆบานออก เพราะเมื่อเราวางกระดาษดอกไม้ไว้บนน้ำแล้วน้ำจะซึมเข้าไปในเยื่อกระดาษจึงทำให้กระดาษ(กลีบดอกไม้)บานออกมา (ชม VDO ด้านล่างเลยค่ะ) 
ภาพดอกไม้กระดาษของเพื่อนๆ
เกิดจากสีเมจิกที่ระบายละลายลงมาเป็นเส้นแต่ไม่ผสมทั้งนั้น

การทดลองที่ 4 "แรงดันน้ำ"


     นำขวดพลาสติกพร้อมฝาปิดมาเจาะรูเรียงลงมาสามรู โดยเว้นระยะพอประมาณ เสร็จแล้วนำเทปกาวมาปิดทับรูที่เจาะ เทน้ำลงไปให้เต็มขวด และปิดฝา
การทดลอง(Trial)
     1. แกะเทปกาวจากรูแรกที่อยู่ด้านบนสุดออก จะสังเกตได้ว่าถ้าปิดฝาน้ำจะไม่ไหล แต่เมื่อเปิดฝาขวดออกน้ำจะค่อยๆไหลออกมาจากขวดน้ำ
     2. แกะเทปกาวจากรูที่อยู่ตรงกลางออก จะสังเกตได้ว่าน้ำไหลพุ่งแรงกว่ารูแรก แม้จะเปิดหรือปิดฝาขวดอยู่ น้ำก็จะไม่หยุดไหล
     3. แกะเทปกาวจากรูที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตได้ว่าน้ำไหลพุ่งแรงกว่าสองรูที่ผ่านมา
หลักการ(Principles)
     สังเกตผลการทดลองแล้ว เราจะพบว่า ขณะที่ปิดฝาขวดแน่นสนิท น้ำจะไม่ไหลออกมาจากรูหรือไหลน้อยมาก แต่เมื่อค่อย ๆ บิดฝาคลายเกลียวออก น้ำจะไหลพุ่งออกมาจนน่าตกใจเชียวละ เมื่อเราปิดฝาขวดแน่น ๆ น้ำจะไม่ไหลออกมาหรือไหลน้อยมาก เนื่องจากบริเวณรอบ ๆ ขวดมีอากาศอยู่ รวมถึงบริเวณใต้ขวดพลาสติกด้วย อากาศที่อยู่ใต้ขวดจะดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกมา แต่เมื่อเปิดฝาขวด อากาศสามารถเข้าไปในขวดได้ และจะดันน้ำให้ไหลพุ่งออกมาจากรูอย่างรวดเร็ว ในขณะที่น้ำยังไหลออกไม่หมด ลองปิดฝาขวดให้แน่นอีกครั้ง คิดดูว่าน้ำจะหยุดไหลหรือไม่ การที่ทำให้ขวดพลาสติกมีช่องให้อากาศเข้าและออก ทำให้อากาศสามารถดันของเหลวที่อยู่ในขวดให้ไหลออกมาได้ดีขึ้น
(ดูการทดลองได้จาก VDO การทดลองวิทยาศาสตร์ ด้านล่างสุด นาที่ที่ 04:01-06:30 น.)
ความรู้เพิ่มเติม : Cick

การทดลองที่ 5 เจาะรูที่ขวดน้ำ 1 รู และต่อสายยาง ปลายสายยางอีกด้านมีถ้วยรองรับ
การทดลอง(Trial)
     จะสังเกตได้ว่าเมื่อวางขวดน้ำไว้ที่สูง ส่วนปลายสายยางอยู่ข้างล่าง น้ำจะพุ่งออกมา ยิ่งถ้าอยู่ต่ำๆน้ำยิ่งพุ่งขึ้นสูง คล้ายน้ำพุ แต่เมื่อเปลี่ยนจากขาดน้ำวางไว้ข้างล่าง ส่วนปลายสายยางอยู่ข้างบน น้ำจะไม่ไหลออกมา
(ดูการทดลองได้จาก VDO การทดลองวิทยาศาสตร์ ด้านล่างสุด นาที่ที่ 02:25-04:00 น.)
ภาพบรรยากาศการทดลอง
"เมื่อน้ำไหลลงจากที่สูง"
การทดลองที่ 6 เป็นการจุดเทียนและใช้แก้วน้ำดับไฟ 
  • ภาพที่ 1 จุดเทียน 1 เล่ม และยึดไว้กับที่
  • ภาพที่ 2 นำแก้วน้ำมาครอบเทียนไว้
  • ภาพที่ 3 ดังภาพจะสังเกตเห็นว่าเทียนเหมือนจะไม่ดับ
  • ภาพที่ 4 ใช้เวลาซักพักไม่กี่วินาที สังเกตได้ว่าเทียนที่จุดไฟเมื่อกี้ค่อยๆหรี่ลง และดับไป
     สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ไฟจากเทียนที่ดับ เพราะควันของเทียนไม่มีอากาศถ่ายเทนั้นเอง
(ดูการทดลองได้จาก VDO การทดลองวิทยาศาสตร์ ด้านล่างสุด นาที่ที่ 00:01-02:24 น.)

การทดลองที่ 7 
                                
การทดลอง(Trial)
  • วางเทียนถวยตั้งไวตรงกลางจาน จุดเทียนและเอามืออังไฟ (ใหหางจากเปลวไฟในระยะที่ปลอดภัย) อากาศบริเวณนั้นอุนหรือเย็น
  • นำแกวน้ำครอบเทียนถวยบนจาน เกิดอะไรขึ้น ไสเทียนยังคงลุกไหมตอไปไดอีกหรือไมเกิดอะไรขึ้นกับน้ำที่อยูในจาน
     สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เมื่อตั้งขวดอุนไวบนจาน จะสังเกตเห็นวาน้ำถูกดูดเขาไปในขวดระดับน้ำในขวดจะเพิ่มขึ้นในชวงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อแตะขวดจะรูสึกวาอุณหภูมิของขวดลดลงตลอดเวลาจนกระทั่งอากาศในขวดมีอุณหภูมิเทากับอุณหภูมิหอง สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณหลายๆอยางไดภายในเวลาไมนานนักเทียนที่ถูกครอบดวยแกวจะดับนอกจากนั้นน้ำในแกวยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
หลักการ(Principles)
     การใหความรอนแกขวดเปนการเพิ่มอุณหภูมิใหกับพื้นผิวภายในขวด รวมถึงอนุภาคของอากาศภายในขวดดวยอากาศที่อุนขึ้นนี้จะฟุงกระจายอยูเต็มขวดและอนุภาคของอากาศจะอยูหางกันมากขึ้นเนื่องจากความรอน เมื่ออากาศเย็นตัวลง อนุภาคเหลานี้จะ “เคลื่อนที่” เขามาชิดกันมากขึ้นจึงไมจำเปนตองใชพื้นที่ภายในขวดทั้งหมด ทำใหเกิดพื้นที่วางแตอากาศไมสามารถไหลเขาไปไดเนื่องจากมีน้ำอยูรอบปากขวดน้ำจึงเขามาแทนที่ตรงที่วางในขวดน้ำในจานจะถูกแรงดันอากาศทั้งจากภายในขวดและรอบๆขวดกระทำ แตเนื่องจากแรงดันอากาศในขวดนั้นมีคานอยกวาแรงดันอากาศรอบๆขวด อากาศภายนอกจึงดันน้ำเขาไปในขวดไดจนกระทั่งแรงดันอากาศภายในขวดเทากับแรงดัน
     อากาศนอกขวด เกิดความสมดุลของแรงดันอากาศ ระดับน้ำในขวดจึงไมเปลี่ยนแปลงอีกตอไป
ในการทดลองที่สองก็เชนกัน เราไดเริ่มตนจากอากาศอุนอากาศที่อยูเหนือเปลวไฟนั้นจะอุ
น เด็กๆ สามารถ “ดักจับ” เอาอากาศนี้ไวไดดวยการครอบแกวลงบนเทียน เทียนจะตองใชออกซิเจนชวยใหติดไฟ และออกซิเจนภายในแก้วก็ถูใชหมดไปอยางรวดเร็ว อากาศจากภายนอกไมสามารถเขาไปแทนที่ไดเทียนจึงดับ เมื่อเทียนดับอากาศภายในแก้วจะค่อยๆเย็นลง และจะต้องการพื้นที่นอยกวาเดิมที่ปากแกวมีแรงดันอากาศ หากไมไดคว่ำแกวไวในน้ำอากาศภายนอกจะเขาไปยังที่วางในแกวได
     แตเนื่องจากปากแกวถูกลอมรอบดวยน้ำน้ำจึงถูกดันเข้าไปในแก้ว เพราะแรงดันอากาศภายนอกสูงกวาแรงดันอากาศภายในแกว แรงดันนี้จะกระทำตอน้ำทั้งหมด อากาศภายในแกวก็ออกแรงดันเชนกัน แตมีแรงดันนอยกวา แรงดันอากาศภายนอกจึงสามารถเอาชนะไดและดันน้ำเขาไปในแกวปริมาณหนึ่งจนกระทั่งแรงดันอากาศภายในแกวเทากับแรงดันอากาศภายนอกแกว เกิดความสมดุล ระดับน้ำในแกวจึงไมเพิ่มขึ้นอีกตอไป
(ดูการทดลองได้จาก VDO การทดลองวิทยาศาสตร์ ด้านล่าง นาที่ที่ 06:31-06:55 น.)

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำการทดลองต่างๆไปทำการทดลองกับเด็กปฐมวัยได้ หรือคิดค้นการทดลองใหม่ๆ ดัดแปลงจากที่ได้เรียนในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในแบบของตนเอง และครูควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการทดลองแต่ละครั้ง การทดลองแต่ละอย่างควรอยู่ในสายตาครู และเวลาทดลองครูควรให้ความสำคัญ สนใจกับคำถามของเด็กๆเสมอ พร้อมกับคอยถามตอบกับเด็กอยู่ตลอดเวลา
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็กในเรื่องของการทดลองแต่ละครั้งโดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เช่น เด็กๆรู้ไหมค่ะว่าทำไมน้ำถึงไหลออกมาจากรู (การทดลอง "แรงดันน้ำจากขวด" ) เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน คำตอบไม่มีถูกผิด ทำให้เด็กกล้าพูด และบรรยากาศในห้องก็สนุกสนานไม่ตึงเครียด
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจกระตือรือร้นในการทดลองแต่ละครั้งอย่างมาก สนใจในการทดลองวิทยาศาสตร์ รู้สึกตื่นเต้นกับการทดลองที่ไม่เคยทำมาก่อน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างถามและให้ความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์กันทุกคน และร่วมกันทำการทดลองอย่างสนุกสนาน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการทดลองที่น่าสนใจ ให้เด็กทุกคนได้มีส่วนร่วมและลงมือทำ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ

ความลับของอากาศ


สรุป เนื้อหาจากการดู VDO เรื่อง ความลับของอากาศ
     อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ ถึงเราจะมองไม่เห็น ซึ่งอากาศไม่มีขนาดรูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้ อากาศมีทั้งร้อนและเย็นมีน้ำหนักเหมือนวัตถุ โดยอากาศร้อนจะมีน้ำนักเบากว่าอากาศเย็น มนุษย์จึงนำไปใช้ประโยชน์โดยทำให้บอลลูนลอยขึ้นไปได้เพราะความร้อนของอากาศจะทำให้บอลลูนลอย
     อากาศนั้นทำให้เกิดลม ซึ่งลมก็คืออากาศที่สามารถเคลื่อนที่ได้ บนโลกของเราจะมีลมเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละพื้นที่จะร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหน ลมสามารถเปลี่ยนไปตามทิศทางของวัตถุที่มากีดขวาง
     มนุษย์จึงมีการนำเรื่องของหลักการแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้หลอดดูด การผลิตเครื่องบิน และในอากาศร้อนจะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ แรงต้านของอากาศจะเกิดเมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ โดยมนุษย์นำเรื่องแรงต้านมาใช้ในเรื่องการกระโดดร่มให้ถึงพื้นช้า อากาศจึงมีความสำคัญต่อเรามากมายเลยทีเดียว นอกจากจะใช้หายใจแล้ว อากาศยังทำให้เกิดลม และเรายังใช้คุณสมบัติของอากาศมาใช้เป็นหลักในการสร้างสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick , Cick
กลไกการประดิษฐ์
     บอลลูนอากาศร้อนเป็นอากาศยานเพื่อใช้ในการเคลือนที่ในอากาศได้เป็นชนิดแรกของโลก โดยมีการนำมาใช้จริงในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1783 ที่กรุงปารีส บอลลูนจะมีถุงหรือซองเก็บอากาศที่ร้อนและมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศที่อยู่นอกถุง จึงทำให้มันลอยขึ้นจากพื้นได้ ตัวถุงมักทำด้วยผ้าใบไนลอนและจะเป็นถุงเปิดทางด้านล่าง เพื่อเปิดต่อกับทางเข้าของความร้อนและตัวถุงจะมีความดันใกล้เคียงบรรยากาศภายนอกข้างใต้ถุง มักจะมีตะกร้าหรือแคปซูลเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน โดยใช้แก๊สหรือเชื่อเพลิงร้อน โดยมีพื้นที่ในการใช้พื้นที่สำหรับผู้ควบคุมหรือผู้โดยสาร โดยใช้หลักการเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของลมแต่ถ้าเรือเหาะชนิดอื่นๆจะมีเครื่องยนต์ในการบังคับการเคลื่อนที่และความเร็วในการเคลื่อนที่ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick
ความรู้เพิ่มเติม : Cick
                            

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 17 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้17 ตุลาคม 2557 มีการเรียนชดเชยของวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นวันหยุดวันปิยมหาราช วันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่องแผนการเรียนการสอนทั้ง 5 วันของแต่ละกลุ่มว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งมีอันไหนผิดพลาด อาจารย์ให้กลับไปแก้ไข และเขียนแผนของหน่วยตนเองให้เรียบร้อยส่งวันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557
Mind Map 
หน่วย ไก่ (ฉบับแก้ไข)
การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการเรียนการสอน เรื่องไก่ ทั้งวิชาอื่นๆอีกด้วย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็กในเรื่องของการเขียนแผนการสอนโดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเรื่องแผน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างถามและให้ความสนใจเกี่ยวกับการเขียนแผน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำแนะนำเพิ่มเติมพร้อมยกตัวอย่างแผนได้เป็นอย่างดี
                              คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  1. เด็กสามารถทำได้ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน
  2. ทำจากวัสดุเหลือใช้
  3. เด็กสามารถนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่
  4. เด็กจะต้องได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      ซึ่งดิฉันก็ได้ออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน นั้นก็คือคลื่นทะเลในขวด(Ocean in a bottle) มีวิธีทำดังนี้

คลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)




อุปกรณ์ (Equipment)
     1. ขวดน้ำพลาสติกพร้อมฝาปิด (Water Bottles)
     2. น้ำมันพืช (Vegetable Oil) หรือจะใช้ Baby Oil, น้ำมันมะพร้าว ก็ได้ตามสะดวกที่มีค่ะ
     3. สีผสมอาหาร สีฟ้าสด (Food Colour Light Blue) หรือสีน้ำเงินค่ะ
     4. กรวดก้อนเล็กๆ (ถ้ามี) (Gravel)
     5. ปลา, เปลือกหอย หรือของเล่นชิ้นเล็กๆ (ถ้ามี)
     6. กากเพชร (ถ้ามี) (Glitter)
     7. กรวยกรอง (ไว้สำหรับลองตอนเทน้ำมันพืชลงไปในขวดกันหกค่ะ)
วิธีทำ (How to make)
     ไม่ยากเลยค่ะ อย่างน้องโดนัทดิฉันทำไปพร้อมๆกันคนละ 1 ขวด เราก็จะคอยบอกว่าทำอย่างไร และช่วยเหลือบ้างบางครั้ง
     1. เริ่มจากใส่น้ำลงไปในขวดพลาสติกประมาณ 1 ส่วน 3 ของขวด
     2. หยดสีผสมอาหารสีฟ้าลงไปเล็กน้อยเพื่อให้น้ำเป็นสีฟ้าเหมือนทะเล
     3. จากนั้นเป็นการตกแต่งใต้มหาสมุทรตามจินตนาการและของที่มี ที่บ้านค่ะ ใส่พวกก้อนกรวดเปลือกหอยแล้วก็ตุ๊กตาตัวเล็กๆ และกากเพชร ให้น้องโดนัทค่อยๆหย่อนของทุกอย่างลงไปในขวด

     4. เมื่อใส่ของเล่นทุกอย่างเสร็จแล้ว เทน้ำมันพืชลงไปจนเต็มขวด (ขั้นตอนนี้ให้น้องสังเกตไปด้วยว่าน้ำกับน้ำมันจะเป็นอย่างไร น้องโดนัทตื่นเต้นมากเมื่อเห็นปฏิกิริยา)
     5. เทน้ำมันเต็มขวดแล้ว ปิดฝาขวดให้แน่นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
วิธีเล่น (How to play)
     จะเกิดคลื่นได้อย่างไร? เวลาเล่นเราค่อยๆโยกขวดไป-มาช้าๆ แค่นี้เองเราก็จะได้คลื่นที่เราเห็นอยู่ในท้องทะเลและมีความสวยงามด้วยค่ะ
หลังการทดลองทำคลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)
     น้องโดนัทสนุกสนานกับการทำคลื่นทะเลในขวดมากค่ะ เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น เมื่อได้ลงมือกระทำเด็กมีความกระตือรือร้นในสิ่งที่เขาสนใจ และเขาก็สนุกกับการได้ตกแต่งอยากให้ใต้มหาสมุทรของตัวเองสวยงามมีอะไรในนั้น เขาก็จะใส่ๆลงไป พอโยกขวดไปมาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของน้ำกับน้ำมันไม่ผสมกันทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น เกิดคลื่นทำให้เขาสนุกในการเล่นเมื่อเห็นสิ่งที่ตนประดิษฐ์เองเกิดความสวยงามเหมือนคลื่นทะเลจริง น้องก็จะพูดตลอดว่า “เหมือนทะเลที่หนูไปมาเลย”, “สวยมากๆเลยค่ะ”, “พี่พลอยเอาวิทยาศาสตร์มาให้หนูเล่นอีกนะค่ะ” น้องโดนัทก็เกิดความภาคภูมิใจและสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น อยากรู้อยากเห็น อยากลงมือกระทำสิ่งทดลองวิทยาศาสตร์ใหม่ๆต่อไปอีกเรื่อยๆค่ะ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของคลื่นทะเลในขวด (Ocean in a bottle)
     น้ำกับน้ำมันจะไม่ผสมกันแต่จะแยกชั้นกัน เพราะว่าสภาพความเป็นขั้วแตกต่างกัน น้ำเป็นพวกโมเลกุลที่มี "ขั้ว" เพราะว่าออกซิเจนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN) สูงกว่าไฮโดรเจน ออกซิเจนมีขั้วลบ ในขณะที่ไฮโดรเจนมีขั้วบวก แสดงว่าน้ำเป็นโมเมนต์ขั้วคู่ ปฏิกิริยาระหว่างขั้วของแต่ละโมเลกุลเป็นเหตุให้เกิดแรงดึงดูดที่เชื่อมโยงกับมวลรวมของน้ำของความตึงผิว แต่น้ำมันเป็นพวกโมเลกุล "ไม่มีขั้ว" จึงแยกกันอยู่ และน้ำกับน้ำมันหนักไม่เท่ากัน "น้ำ" หนักกว่า ก็จมลงล่าง (ความหนาแน่นประมาณ 1.00) ส่วน "น้ำมัน" เบากว่าก็ลอยขึ้นข้างบน (ความหนาแน่นประมาณ 0.85)

บรรยากาศภายในห้องการนำเสนอของเล่นวิทย์


การนำไปประยุกต์ใช้
     ของเล่นวิทยาศาสตร์แต่ละชิ้นที่เพื่อนๆนำเสนอในวันนี้ ได้ให้ความรู้มากมาย ซึ่งการนำไปสอนเด็ก เราสามารถนำไปประยุกต์โดยการนำสิ่งของอย่างอื่นที่สามารถทำได้นอกจากที่เพื่อนทำ จะทำให้เด็กรู้จักคิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ลูกข่างที่ทำจากแผ่นซีดี เราอาจจะเอาดินน้ำมันมาทำก็ได้ เป็นต้น
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็กในเรื่องของสื่อที่ประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ นำเสนอพูดเสียงตะกุกตะกัก อาจจะพูดเร็วไปบ้าง
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ระหว่างที่อาจารย์ถามเพื่อนที่นำเสนอสื่อ เพื่อนๆก็ร่วมช่วยกันตอบ ข่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับของเล่นต่างๆ
                              คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 9 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน
อุปกรณ์ (Equipment)

  1. กระดาษหน้าปก (Paper)
  2. แกนกระดาษทิชชู่ (Tissue Paper)
  3. ไหมพรม 1 วา (Yarn)
  4. กรรไกร (Scissors)
  5. ดินสอ (Pencil)
  6. กาว (Glue)
  7. เครื่องเจาะกระดาษ (Paper Punches)
วิธีทำ (Howto)
- ภาพที่ 1 นำแกนกระดาษทิชชู่วางทาบลงบนกระดาษที่เตรียมไว้ และวาดวงกลมลงไป
- ภาพที่ 2 เมื่อวาดวงกลมเสร็จจะได้ดังภาพ
- ภาพที่ 3 นำกรรไกรมาตัดตามเส้นวงกลมที่วาดเอาไว้
- ภาพที่ 4 เมื่อตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมแล้ว จินตนาการสร้างสรรค์วาดรูปภาพออกมาตามใจตนเอง
- ภาพที่ 5 นำแกนกระดาษทิชชู่ 1 อัน ตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อน และใช้เครื่องเจาะกระดาษเจาะรูให้ทะลุไปด้านหลังดังภาพ
- ภาพที่ 6 นำไหมพรมยาวประมาณ 1 วา สอดเข้าไปในรูทุกด้าน
- ภาพที่ 7 ไหมพรมสอดเข้าไปเรียบร้อยแล้ว  และก็มัดปมให้แน่น
- ภาพที่ 8 ทากาวรูปวงกลมที่วาดไว้ และนำมาติดตรงกลางแกนกระดาษทิชชู่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
วิธีเล่น (How to play)
     นำด้านใดด้านหนึ่งคล้องคอ ส่วนด้านล่างมือซ้ายกับมือขวาจับเส้นไหมพรมไว้ทั้งสองข้าง และดึงเส้นไหมพรมขึ้นลงสลับกันไปมา สังเกตได้ว่าแกนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ตรงกลางจะเคลื่อนที่ขึ้นลงหรืออาจไม่เคลื่อนที่ ขึ้นอยู่กับการเล่น ความเร็วในการดึงของแต่ละคนด้วย หลังจากนั้นเพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ ดังต่อไปนี้
บทความที่ 1 เรื่อง : สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
บทความที่ 2 เรื่อง : จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ...สนุกคิดกับของเล่นวิทย์
บทความที่ 3 เรื่อง : สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ธรรมชาติ
บทความที่ 4 เรื่อง : การส่งเสริมกระบวนการคิด
บทความที่ 5 เรื่อง : การสอนลูกเรื่องอากาศ

สรุป บทความ (Article)

การบ้าน การส่งของแรง (หาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งประดิษฐ์ที่ทำในวันนี้)
     แรง (FORCE) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือวัตถุอาจเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ เพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุอยู่ด้วย หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
ชนิดของแรง
     1.แรงโน้มถ่วงของโลก
     2.แรงปฏิกิริยาระหว่างผิวสัมผัส เมื่อวัตถุมีผิวสัมผัสซึ่งกันและกันจะเกิดแรงระหว่างผิวสัมผัสขึ้น โดยทิศทางของแรงจะมีทิศตั้งฉากกับผิวสัมผัส ขนาดของแรงระหว่างผิวสัมผัสจะมากหรือน้อยขึ้นกับการสัมผัสว่ามีแรงกระทำมากน้อยเท่าไร
     3.แรงตึงเชือก แรงที่เกิดขึ้นจากการที่ทำให้เชือกตึง โดยดึงปลายเชือกทั้ง 2 ด้าน แรงตึงในตัวเชือกที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกินแรงสูงสุดที่เชือกจะรับได้ ค่าของแรงตึงเชือกจะแปรไปตามค่าของแรงที่มากระทำต่อเชือก
     4.แรงจากสปริง คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ถูกผูกติดไว้กับสปริงในแนวราบ แล้ววัตถุเคลื่อนที่ไปมาตามแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุ
     5.แรงเสียดทาน (Friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
               1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
               2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่
     มวล (Mass) คือ ปริมาณของวัตถุที่ต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ มวลเป็นปริมาณ สเกลาร์ มีหน่วยวัดเป็นกิโลกรัม(kg) (วัตถุที่อยู่นิ่ง จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ ในทำนองเดียวกัน วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อยู่แล้ว ก็จะต้านความพยายามที่จะทำให้วัตถุนั้นหยุดนิ่ง วัตถุมวลมากจะต้านได้มาก วัตถุมวลน้อยจะต้านได้น้อย)
ข้อมูลเพิ่มเติมCick / Cick
การนำไปประยุกต์ใช้
     ของเล่นที่ทำวันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแกนทิชชู่, ไหมพรม เราสามารถนำไปประยุกต์นำอย่างอื่นมาประดิษฐ์ได้ นำไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     ให้เด็กคิดอย่างอิสระ และลงมือกระทำในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เด็กรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการเรียนรู้ การคิด การสังเกต ค้นหา ว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นคืออะไร นำมาซึ่งการลงมือทดลอง และการสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน แบ่งปันของร่วมกันกับเพื่อน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ และมีกิจกรรมการประดิษฐ์น่าสนใจ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...