วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น ซึ่งในความคิดของดิฉัน คิดว่าคล้าย "ลูกยาง" มาจากต้นยางนา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocapus alatus Roxb. ex G.Don) แต่เราจะทำด้วยกระดาษ
ลูกยาง(Yang)

อุปกรณ์ (Equipment)
  1. กระดาษหน้าปก (Paper)
  2. คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)
  3. กรรไกร (Scissors)
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ตัดกระดาษตรงกลางยาวชิดขอบรอยพับ ดังภาพด้านล่าง

วิธีทำ (How to)
- ภาพที่ 1 เมื่อตัดกระดาษได้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามภาพแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่ง
- ภาพที่ 2 พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางชิดรอยพับ เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 3 ตัดกระดาษเสร็จแล้ว พับส่วนที่ตัดไปคนละด้านดังภาพ
- ภาพที่ 4 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัดดังภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ส่วนอาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 3,4 และ 5 ตัดกระดาษตรงกลางไม่ยาวมาก(แล้วแต่จะตัดแบบไหน)

วิธีทำ (How to)
- ภาพที่ 1 เมื่อตัดกระดาษได้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามภาพแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่ง
- ภาพที่ 2 พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตรงกลางไม่ยาวมาก เลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
- ภาพที่ 3 ตัดกระดาษเสร็จแล้ว พับส่วนที่ตัดไปคนละด้านดังภาพ
- ภาพที่ 4 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัดดังภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

     อาจารย์ให้แถวที่ 1 ถึงแถวที่ 5 ออกมาเล่นทีละแถว วิธีเล่น ให้แต่ละคนโยน ขว้าง หรือปา ก็ได้ ลงมาจากที่สูง
     แถวที่ 1 และ 2 เมื่อขว้างลงมาจากที่สูง พบว่าลูกยาง(กระดาษ) จะหมุนเป็นวงกลมคล้ายลูกยาง และตกลงสู่พื้น (เนื่องจากถ่ายภาพเคลื่อนไหว แล้วเห็นไม่ชัด ดิฉันจึงนำภาพด้านล่างมาเป็นตัวอย่าง)
ตัวอย่าง การหมุนของแถวที่ 1,2
ลูกยาง
     แถวที่ 3 , 4 และ 5 เมื่อขว้างลงมาจากที่สูง พบว่าลูกยาง(กระดาษ) ไม่หมุนเป็นวงกลมคล้ายลูกยางเท่าไหร่นัก แต่จะตรงดิ่งตกลงสู่พื้นทันที
     ที่ต่างกันเพราะแรงน้วมถ่วง และแรงต้านทาน จึงนำมาประยุกต์เป็น เครื่องบิน, ร่มชูชีพ ฯลฯ การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่งเสริมพัฒนาการตามคุณลักษณะตามวัย บนพื้นฐานทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ 5 คน
สรุป บทความ(Article)
คนที่ 1 น.ส.พัชราภา บุญเพิ่ม บทความเรื่อง : แสงสีกับชีวิตประจำวัน ข้อมูล : Cick
คนที่ 2 น.ส.รัชดาภรณ์ นันบุญมา บทความเรื่อง : เงามหัศจรรย์ต่อสมอง ข้อมูล : Cick
คนที่ 3 น.ส.ฐิติมา บำรุงกิจ บทความเรื่อง : สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ข้อมูล : Cick
คนที่ 4 น.ส.เนตรยา เนื่องน้อย บทความเรื่อง : วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ข้อมูล : Cick
คนที่ 5 น.ส.จิตราภรณ์ นาคแย้ม บทความเรื่อง : การทดลองวิทยาศาสตร์(Science experiments) ข้อมูล : Cick
     เมื่อเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ให้นำแผนแต่ละกลุ่มไปติดที่ผนังห้องเพื่อแชร์ความรู้ร่วมกัน และตรวจทานเพื่อนำไปแก้ไข


กลุ่มของดิฉัน เรื่อง ไก่ (Chicken)

สรุป Mind Map
เรื่อง ไก่ (Chicken)
ข้อมูลเพิ่มเติม : ไก่(Chicken) Cick Cick Cick
การนำไปประยุกต์ใช้
     ของเล่นที่ทำวันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษ เราสามารถนำไปประยุกต์นำอย่างอื่นมาประดิษฐ์ได้ นำไปสอนเด็กเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่หลากหลาย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     ให้เด็กคิดอย่างอิสระ และลงมือกระทำในการประดิษฐ์ชิ้นงาน เด็กรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการเรียนรู้ การคิด การสังเกต ค้นหา ว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นคืออะไร นำมาซึ่งการลงมือทดลอง และการสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ มีกิจกรรมการประดิษฐ์น่าสนใจ
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 18 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยแจกกระดาษให้นักศึกษา 1 แผ่นต่อ 4 คน พับกระดาษแบ่งครึ่ง และวาดภาพที่สัมพันธ์กันลงไป
อุปกรณ์ (Equipment)
     1.กระดาษแข็ง
     2.ไม้เสียบลูกชิ้น
     3.กรรไกร
     4.ดินสอสี
     5.เทปกาว
วิธีทำ (How to)
     ภาพที่ 1 ตัดกระดาษ ครึ่งของกระดาษ A4 
     ภาพที่ 2 เมื่อตัดเสร็จแล้ว นำกระดาษมาพับครึ่งอีก 1 รอบ
     ภาพที่ 3 วาดรูปที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ เช่น ด้านหนึ่งเป็นสุ่ม อีกด้านเป็นไก่
     ภาพที่ 4 เมื่อวาดภาพตกแต่งเสร็จ นำไม้เสียบลูกชิ้นวางทาบด้านในกระดาษและติดเทปกาวไว้ จากนั้นนำเทปกาวมาติดด้านข้างของขอบกระดาษ
     เมื่อนำมาเล่น ถือตรงไม้เสียบลูกชิ้นแล้วหมุนด้วยความเร็ว จะเห็นได้ว่าไก่อยู่ในสุ่มนั้นเอง หลังจากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความต่อ
คนที่ 1 น.ส.แสงระวี ทรงไตรย์ บทความเรื่อง : เด็กๆอนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย ข้อมูลCick
คนที่ 2 น.ส.ศุภาวรรณ ประกอบกิจ บทความเรื่อง : โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ข้อมูลCick
คนที่ 3 น.ส.ศิราลักษณ์ คาวินวิทย์ บทความเรื่อง : บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ ข้อมูลCick

การบ้าน สรุป ความลับของแสง (The Secret of Light)
     แสงไฟเกี่ยวข้องอย่างไรกับการมองเห็น แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล แต่เป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังเคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เร็วเท่าแสงเราจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ/วินาที
ตัวอย่างการทดลอง
     หากล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิด 1 ใบ เจาะรูข้างๆกล่อง 1 รู แล้วนำของต่างๆมาใส่ในกล่อง เช่น ตุ๊กตา หลังจากนั้นปิดฝากล่อง ลองมองเข้าไปในรูที่เจาะไว้ จะเห็นได้ว่ามืดสนิทมองไม่เห็นของที่ใส่ไว้ด้านใน แต่เมื่อเปิดฝากล่องออก ได้รับแสงจะเห็นว่าสว่างขึ้นสามารถมองเห็นของที่อยู่ด้านใน จากนั้นทดลองปิดฝากล่องอีกครั้งแต่เจาะรูเพิ่มด้านข้างกล่องอีก 1 รู แล้วนำไฟฉายมาส่อง เราก็สามารถมองเห็นสิ่งของได้เช่นกัน การที่เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้เพราะแสงส่องลงมากระทบกับวัตถุต่างๆ แต่สาเหตุที่เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัว แสงยังจะต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้ามาสู่ตาของเราด้วย เราถึงจะมองเห็นวัตถุได้ ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราคือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุ
     ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไฟฟ้าติดทำให้เราแสบตา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสงเร็วเกินไปตาของเรายังปรับไม่ทันจึงพร่าและแสบตานั้นเอง
     แสงมีลักษณะเดินทางเป็นเส้นตรงไปจนถึงวัตถุที่มากั้นทางเดินของแสง และแสงก็จะถูกวัตถุนั้นสะท้อนกลับมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาของเรา วัตถุบางชนิดที่แสงส่องทะลุผ่านไปได้ วัตถุบนโลกเราเมื่อมีแสงมากระทบจะมีคุณสมบัติอยู่ 3 แบบ คือ
     1.วัตถุโปร่งแสง แสงจะทะลุผ่านไปได้และแสงบางส่วนก็จะสะท้อนมาที่ตาของเรา ซึ่งทำให้เรามองทะลุวัตถุนั้น และมองเห็นรูปร่างได้ แต่แสงจะทะลุผ่านเข้าไปได้แค่บางส่วน เราจึงมองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ่า และพลาสติกสีขุ่นๆ เป็นต้น
     2.วัตถุโปร่งใส มีคุณสมบัติคล้ายกันกับวัตถุโปร่งแสง แต่แสงสามารถทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส หรือพลาสติกใสนั้นเอง
     3.วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วสะท้อนแสงส่วนที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก และตัวของเรา
     การหักเหของแสง เกิดจากการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิด
การนำแสงมาใช้ประโยชน์
- การเคลื่อนที่ ที่เป็นเส้นตรงของแสงเรานำมาใช้ทำเป็นกล้องฉายภาพแบบต่างๆ
- การสะท้อนแสง จากกระจกเงาสามารถมองเห็นวัตถุที่เราไม่สามารถมองเห็นได้

สรุปเป็น Mind Map
ข้อมูลเพิ่มเติมCick
การนำไปประยุกต์ใช้
     สิ่งประดิษฐ์ที่ทำวันนี้เราสามารถนำไปสอนเด็กๆได้ หรือเรื่องของแสง สามารถนำความรู้นั้นไปทำสื่อ ของเล่นวิทยาศาสตร์นำมาสอนเด็กหรือให้เด็กลงมือทำไปพร้อมๆกัน
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
     สัปดาห์นี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ สัปดาห์ละ 5 คน คนละ 1 บทความ

คนที่ 1 น.ส.มนสิชา ศิลปสิทธิ์ บทความเรื่อง : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
     อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

คนที่ 2 น.ส.เจนจิรา ไทยแท้ บทความเรื่อง : 5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล
     ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
     ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

คนที่ 3 น.ส.สุวนันท์ มณีทิพย์ บทความเรื่อง : อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน"วันนักวิทยาศาสตร์น้อย"หวังปลูกความรักวิทยาศสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
     เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 : นายพิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวในงานพิธีเปิดงาน “วันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 2556” ว่า ในยุคปัจจุบัน การพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ ต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของประชากรด้วยการศึกษา รวมทั้งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ จากผลการประเมินระดับนานาชาติ เช่น Programme for International Student Assessment : PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผู้ปกครองต่างต้องตระหนักที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

คนที่ 4 น.ส.เปี่ยมสิริ เรืองฤทธิ์ บทความเรื่อง : สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming)
     สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน (Teaching Children about Global Warming) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงและการใช้สารเคมี ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ถูกก๊าซเรือนกระจกกักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบให้สภาพอากาศในโลกเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่น เกิดภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาด จึงส่งผลให้คนเสียชีวิต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่โลกร้อน และวิธีการลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้หรือของเล่นมาใช้ซ้ำหรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีดังกล่าวสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีๆให้เด็กได้รู้จักรักของ ประหยัด อดทน และช่วยลดขยะหรือสิ่งเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในโลก ตลอดจนช่วยลดการใช้พลังงานหรือสารเคมีที่นำมาผลิตสิ่งของใหม่ ซึ่งมีผลกระทบที่ทำให้เกิดเรือนกระจกไปบังการสะท้อนกลับของรังสีจากดวงอาทิตย์ การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนเป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกนี้ การจัดกิจกรรมลดสภาวะโลกร้อนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจที่บ้านและครอบครัวจะส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

     จากนั้นเมื่อเพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จ อาจารย์ชี้แนะสอนให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     1.การเปลี่ยนแปลง
     2.ความแตกต่าง
     3.การปรับตัว
     4.การพึ่งพาอาศัยกัน
     5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
     1.ขั้นกำหนดปัญหา
     2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
     3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
     4.ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
     1.ความอยากรู้อยากเห็น
     2.ความเพียรพยายาม
     3.ความมีเหตุผล
     4.ความซื่อสัตย์
     5.ความมีระเบียบและรอบคอบ
     6.ความใจกว้าง
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์


สรุป Mind Map

ความรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : Cick , Cick
ทักษะการสังเกต
     การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไปทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการ สังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick , Cick , Cick

การนำไปประยุกต์ใช้
     ได้รับความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ทำให้รู้ลึกซึ้งมากขึ้น ควรให้เด็กลงมือกระทำ รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เราจัดกิจกรรมที่เด็กสามารถมองเห็น ลงมือสัมผัสกระทำได้ เพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ไม่คุยกันเสียงดังระหว่างที่อาจารย์พูด และเมื่อเพื่อนนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา และให้คำชี้แจงความรู้เพิ่มเกี่ยวกับบทความ


คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2
รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย
     คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cick

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี)
ทฤษฎีการทดลองของพาฟลอฟ
     
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) เป็นการเรียนรู้แบบที่มีต่อสิ่งเร้าสองสิ่ง สิ่งเร้า สิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าแท้ และสิ่งเร้าอีกสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งเร้าเทียมโดยสิ่งเร้าเทียม จะทำหน้าที่แทนสิ่งเร้าแท้ได้ โดยที่มีผลตอบสนอง เช่นเดียวกับสิ่งเร้าแท้ ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
      อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ได้ทดลองในสุนัข โดยให้อาหารสุนัข เมื่อสุนัขได้อาหารจะเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์อย่างง่ายขึ้น คือ น้ำลายไหลออกมาขณะที่กินอาหาร ต่อมา พาฟลอฟ ให้อาหารพร้อมกับสั่นกระดิ่งไปด้วยหลายๆ ครั้ง สุนัขจะมีน้ำลายไหลออกมาด้วยเสมอ เพียงแต่ พาฟลอฟสั่นกระดิ่งเท่านั้น สุนัขก็เกิดอาการน้ำลายไหลแล้วทั้งๆ ที่ตามปกติ เสียงกระดิ่ง ไม่สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้
      พบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคืออาหารที่เป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditioned stimulus)
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (การทดลองของวัตสัน)
      ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่เกิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
อุปกรณ์การทดลอง
  • เด็กชาย อัลเบิร์ด อายุ 11 เดือน
  • หนูขาว
  • เหล็ก
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
กีเซล (Gesell)
  • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  • การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
  • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
  • จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
ฟรอยด์ (Freud)
  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอยกับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา
  • จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
อีริคสัน (Erikson)
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ
เพียเจท์ (Piaget)
  • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความมคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0-6 ปี)
  1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0-2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
  2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • จัดให้เด็กได้เรียนรู้จาสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
ดิวอี้ (Dewey)
  • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ
สกินเนอร์ (Skinner)
  • ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
  • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
  • ไม่นำเด็กเปรียบเทียบแข่งขันกัน
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
  • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
  • เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการและระดับความสามารถในการเรียน
  • เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เฟรอเบล (Froeble)
  • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
  • การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
เอลคายน์ (Elkind)
  • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
  • เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  • จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  • การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  • เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
  • กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ
การเรียนรู้แบบองค์รวม

Mind Map
สรุป รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย

การนำไปประยุกต์ใช้
     จากทฤษฎีต่างๆ เราสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมต่างสอนเด็กให้ถูกต้องเหมาะสม
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด ถามตอบกับเด็ก โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนสาย
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ สอนเนื้อหาละเอียด ทฤษฎีไม่นำข้อมูลมาเยอะจนเกินไป ทำให้ดูไม่น่าเบื่อหน่าย

คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...