วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 233 อาคาร 2

     วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่เหลือ 1 คน ที่ยังไม่นำเสนอออกนำเสนอวิจัย ดังนี้
ชื่อวิจัย การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
Mind Map

     เมื่อเพื่อนนำเสนอวิจัยเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน (ที่เขียนแผนการจัดประสบการณ์) จากนั้นอาจารย์อธิบายวิธีทำและการเขียนแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

วิธีทำ (How to make)
ส่วนด้านนอก
     ดูจากหมายเลขตรงดาวนะค่ะ
     -ภาพที่ 1 หน้าปก ประกอบด้วย ตราโรงเรียน , ชื่อโรงเรียน , ชื่อเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์(ตั้งชื่อให้น่าสนใจ) , ชื่อหน่วยที่สอน , ชื่อของเด็ก และชื่อคุณครู
     -ภาพที่ 2 ชื่อสมาชิกกลุ่ม
     -ภาพที่ 3 เป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถใช้เล่นกับลูกได้ เช่น เกมภาพตัดต่อ , เกมภาพเงา , เกมจิ๊กซอว์ , เกมต่อคำ , เกมจับคู่ , เกมสลับที่ เป็นต้น
ส่วนด้านใน
     -ภาพที่ 4 หน้านี้เป็นเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ครูสอน เรื่องอะไร หน่วยอะไร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้อะไร
     -ภาพที่ 5 สาระทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่เรียนได้สาระความรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร เขียนแบบเรียงความ
     -ภาพที่ 6 หน้านี้เกี่ยวกับ เพลง คำคล้องจอง หรือนิทานที่เกี่ยวกับหน่วยที่สอน

     การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์นี้เพื่อให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับการเรียนการสอนของเด็กว่าเขากำลังเรียนอะไร และเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการเรียนการสอนของเด็ก ซึ่งครูอาจขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองให้เด็กนำสิ่งของ.........มาเพื่อลงมือปฏิบัติในหน่วยการเรียนการสอนนั้นๆ


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ หรือเราสามารถดัดแปลงสื่อ อุปกรณ์ให้มีความหลากหลายรูปแบบที่แปลกใหม่ไปจากเดิม คือต่อยอด สร้างสรรค์ มากกว่าที่เพื่อนนำเสนอ และวิธีการทำแผ่นพับสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานในรูปแบบอื่นๆได้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
     การสอนโดยใช้คำถามแบบปลายเปิด โดยตั้งคำถามให้เด็กตอบอยู่เสมอๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาค้นหาคำตอบ และเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม โดยการนำเรื่องหน่วยที่เขียน มาทำแผ่นพับต่อยอดความรู้ และให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
การประเมินผล (Evaluation)
  • การประเมินตนเอง(Me) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการนำเสนอของเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนนำมาเสนอ และจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ปรึกษา แสดงความคิดเห็น ช่วยกันออกแบบทำแผ่นพับร่วมกับเพื่อน
  • การประเมินเพื่อน(Friend) - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน ทุกคนช่วยกันตอบเวลาที่อาจารย์ถาม ช่วยกันคิดหาวิธีการทำแผ่นพับอย่างตั้งใจ หาความรู้เพิ่มเติมในการทำ และร่วมมือทำแผ่นพับจนเสร็จลุล่วง
  • การประเมินอาจารย์(Teachers) - การแต่งกายสะอาดสุภาพ เข้าสอนตรงต่อเวลา ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอ และอธิบายวิธีการทำแผ่นพับอย่างละเอียด มีการแนะนำนักศึกษาดีมาก ว่าตรงนี้ควรเขียนเกี่ยวกับอะไร ช่วยเสนอออกความคิดเห็น

                              คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น